ชื่อไทย
คำเงาะ
ชื่อท้องถิ่น
คำเงาะ คำแงะ คำไทย คำแฝด (กรุงเทพฯ)/ คำยง (เขมร)/ คำแสด (กรุงเทพฯ)/ จำปู้, ชาด (ภาคใต้)/ ชาตี (เขมร)/ ซิติหมัก (เลย)/ มะกายหยุม (ภาคเหนือ)/ ส้มปู้ (เขมร-สุรินทร์)/ แสด (ภาคเหนือ)/ หมากมอง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Achiote/ Anatto tree/ Lipstick tree
ชื่อวิทยาศาสตร์

Bixa orellana L.

สกุล
Bixa
ชื่อพ้อง

Bixa orellana var. orellana

Bixa americana Poir.

Bixa katangensis Delpierre

Bixa odorata Ruiz & Pav. ex G.Don

ชื่อวงศ์
BIXACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 8 ม. มียางสีแดง มีขนและต่อมรูปโล่สีน้ำตาลแดงหนาแน่นตามกิ่ง กลีบเลี้ยง ช่อดอก และหูใบร่วงเร็ว

ใบ ใบเรียงเวียน รูปไข่หรือรูปหัวใจ ยาว 7.5-25.0 ซม. เส้นโคนใบข้างละ 2 เส้น ก้านใบยาวได้ถึง 12 ซม. ปลายก้านบวม

ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. บานครั้งละ 1-2 ดอก ใบประดับร่วงเร็ว มีรอยคล้ายเกล็ด ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 ซม. โคนมีต่อม ดอกสีขาวหรือชมพู มี 4-7 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปไข่กลับ ขนาดไม่เท่ากัน ยาว 1.5-4 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่มีช่องเดียว ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1.5 ซม.

ผล ผลแห้งแตก รูปรี ยาว 2.0-4.5 ซม. มีขนแข็งสีแดงหนาแน่น ยาว 1-2 ซม. เมล็ดมีปุยสีแดงหุ้ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

สามารถทนดินที่ไม่ดีได้ และกลางแดด

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

อเมริกา แอฟริกา เอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

เป็นไม้ประดับ ผลใช้ทำเป็นสีผสมอาหารและเครื่องอุปโภคหลายชนิด เปลือกหุ้มเมล็ดให้สารสีแดง bixa ละลายในน้ำมันได้ ใช้ทำสีย้อม เมล็ดบดใช้ระบายเป็นสีทาร่างกายและเป็นเครื่องปรุง 

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “คำเงาะ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=คำเงาะ&genus=Bixa&species=orellana&author=L. (18 พฤศจิกายน 2559).

Flora of China. “Bixa orellana”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200014319 (18 พฤศจิกายน 2559).

The Plant List. 2013. “Bixa orellana L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (18 พฤศจิกายน 2559).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้