ชื่อไทย
สะเดา
ชื่อท้องถิ่น
กะเดา (ภาคใต้); ควินิน (ทั่วไป); จะตัง (ส่วย); สะเดาอินเดีย (กรุงเทพฯ); สะเลียม (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
<p>Neem</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss.

สกุล
Azadirachta
สปีชีส์
indica
ชื่อพ้อง

Melia indica (A.Juss.) Brandis

Antelaea azadirachta (L.) Adelb.

Antelaea canescens Cels ex Heynh.

Antelaea javanica Gaertn.

Azadirachta indica var. siamensis Valeton

Melia azadirachta L.

Melia fraxinifolia Salisb.

Melia japonica Hassk.

Melia parviflora Moon

ชื่อวงศ์
MELIACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 ม. ทุกส่วนมีรสขม เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามยาว ยอดอ่อนที่แตกใหม่สีน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบขนนก  เรียงสลับกันใบย่อยฐานใบไม่เท่ากัน รูปใบหอก ปลายสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อย กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งพร้อมใบอ่อน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว หรือเหลืองอ่อน หลอดเกสรตัวผู้รูปทรงกระบอก มีอับเรณู 10 อัน ด้านนอกเรียบ ด้านในมีขน ก้านเกสรตัวเมียยาวปลายแยกเป็น 3-6 พู รังไข่มีหมอนรองดอกรูปถ้วย

ผล ผลสด รูปกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 ซม. มีเมล็ดเดี่ยว แข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในธรรมชาติพบกระจายบริเวณป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50-300 ม. ในทุกภาคยกเว้น ภาคใต้

ถิ่นกำเนิด

อนุภูมิภาคอินเดีย ได้แก่ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา และมัลดีฟส์

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ในเขตร้อน เขตกึ่งร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม - มิถุนายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ราก ใช้แก้ไข้ ทำให้อาเจียน
เปลือกลำต้น แก้ท้องเดิน ใช้แก้บิดมูกเลือด
เปลือก แก้ไข้และไข้มาลาเลีย
ใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ขับพยาธิ ระงับพิษ ป้องกันนิ่ว แกก้โรคดีซ่าน หรือนำไปตำและหมักกับสมุนไพรอื่นใช้ไล่แมลง
ยอดอ่อนและดอกอ่อน รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับลาบหรือลวกกินกับน้ำพริก เป็นยาบำรุงธาตุ
ผล เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ 
เมล็ด มีสาร azadirachtin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าแมลง

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  2559.  ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย 1.  ห้างส่วนจำกัด งานพิมพ์, กรุงเทพฯ.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 112 น.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2552. พืชกินได้ในป่าสะแกราช เล่ม 2. สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด, นนทบุรี.

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สะเดา”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=402&view=showone&Itemid=59 (13 ตุลาคม 2559).

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ.

ThaiHerbal.org. 2014. “สะเดา”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/261 (13 ตุลาคม 2559).

The Plant List. 2013. “Azadirachta indica A.Juss.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2667002 (23 กรกฎาคม 2560).

Wikipedia.  “Azadirachta indica”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Azadirachta_indica (23 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้