ชื่อไทย
ขิง
ชื่อท้องถิ่น
ขิงเผือก (ภาคเหนือ-เชียงใหม่)/ ขิงแกลง ขิงแดง (ภาคตะวันออก-จันทบุรี)/ สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ขิงบ้าน ขิงดอกเดี่ยว (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
Garden ginger/ Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์

Zingiber officinale Roscoe

สกุล
Zingiber
สปีชีส์
officinale 
ชื่อพ้อง

Amomum zingiber L.

Curcuma longifolia Wall.

Zingiber cholmondeleyi (F.M.Bailey) K.Schum.

Zingiber missionis Wall.

Zingiber sichuanense Z.Y.Zhu, S.L.Zhang & S.X.Chen

ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลำต้นสูง 50-100 ซม. เหง้ามีลักษณะกลมและแบน ลำต้นแท้จะมีลักษณะเป็นข้อๆ เนื้อในสีขาว หรือเหลืองอ่อน สำต้นเทียมขนาดเท่าแท่ง ดินสอ มีกาบหรือโคนใบหุ้ม

ใบ ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นสอง แถว ก้านใบจะยาวห่อหุ้มลำต้น ใบเขียวรูป หอก ฐานใบเรียวแหลม กว้าง 2 ซม. ยาว 20 ซม.

ดอก ดอกออกเป็นช่อจากลำต้นใต้ดิน จะแทงขึ้น มาจากเหง้า ก้านช่อดอกยาว 20 ซม. ทุก ๆ ดอกมีกาบสีเขียวปนแดง และจะบานให้เห็น ดอกในภายหลัง

ผล  ผลมี 3 พู ภายในจะมีเมล็ดสีดำ หลายเมล็ด ผลมีลักษณะกลม โต และแข็ง ส่วนเหง้าเมื่อแก่จะเผ็ดร้อนมาก เนื้อเหง้าขิงมีสีเนื้ออมเหลือง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ควรเริ่มปลูกในฤดูฝน จะช่วยให้ขิงแตกหน่อได้เร็ว ให้น้ำปานกลาง แสงแดดครึ่งวัน

ถิ่นกำเนิด

พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ทางประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และ ไทย

การกระจายพันธุ์

มีการกระจายพันธุ์ในหลายประเทศ เช่น บังคลาเทศ เกาะบอร์เนียว กัมพูชา ตะวันออกเฉียงใต้จีน คอสตาริกา คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าปลูก

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

เหง้า ขับลม แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ

 

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ขิง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=827 (6 ตุลาคม 2560).

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ขิง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-guide/ginger/ (6 ตุลาคม 2560).

อภิชาต ศรีสะอาด. 2551. สมุนไพรไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช & พรรณไม้พิษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท นาคาอิเตอร์มีเดีย จำกัด. 116 น.

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Zingiber officinale”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:798372-1 (6 ตุลาคม 2560).

ThaiHerbal.org. 2014. “ขิง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/41 (6 ตุลาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Zingiber officinale Roscoe”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-273361 (6 ตุลาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้