ชื่อไทย
โมกแดง
ชื่อท้องถิ่น
โมกป่า (จันทบุรี)/ มูก (ตรัง)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Wrightia dubia (Sims) Spreng. ภูมิ

สกุล
Wrightia
สปีชีส์
dubia
ชื่อพ้อง

Cameraria dubia Sims

Scleranthera cambodiensis (Pierre ex Pit.) Pichon

Scleranthera dubia (Sims) Pichon

Strophanthus jackianus Wall. ex G.Don

Wrightia cambodiensis Pierre ex Pit.

Wrightia cambodiensis Pierre

Wrightia dubia var. membranifolia King & Gamble

Wrightia kontumensis Lý

Wrightia rubriflora Pit.

ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. เปลือกสีน้ำตาลอมเทา กิ่งมีช่องอากาศกระจายทั่วไป ทุกส่วนมียางสีขาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-8 ซม. ยาว 5-25 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม มน หรือกลมมน ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนตามเส้นใบ เส้นแขนงใบข้างละ 6-14 เส้น ก้านใบยาว 0.2-1 ซม. 

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อเชิงหลั่น ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ มักออกในช่อดอกเดิม ดอกสีแดง สีส้ม หรือสีชมพูอมแดง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเแป็น 5 แฉก รูปไข่ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ แต่ละแฉกยาว 1-2.3 ซม. บิดเวียนในดอกตูม มีกระบังรอบ 2 ชั้น กระบังรอบชั้นนอกแนบติดกลีบดอก กระบังรอบชั้นในขนาดเล็ก เกสรเพศผู้ 5 เกสร ติดในหลอดกลีบดอก อับเรณูมีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 รังไข่แยกกัน 

ผล แบบผลแห้งแตกแนวเดียว ออกเป็นคู่ห้อยลง รูปทรงกระบอก กว้าง 3.5-5 มม. ยาว 13-30 ซม. โค้งเล็กน้อย ผลอ่อนสีเขียว เกลี้ยง  

เมล็ด ค่อนข้างแบน กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 1.6-2.5 ซม. สีน้ำตาล มีขนเป็นกระจุกที่ปลายด้านหนึ่ง มีเมล็ดจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบชื้น ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางได้ถึง 400 ม. 

ถิ่นกำเนิด

ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย 

การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ทยอยออกดอกและติดผลตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับ 

แหล่งอ้างอิง

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ไซมอน การ์ดเนอร์, พินดา สิทธิสุนทร และก่องกานดา ชยามฤต. 2558. ไม้ป่าภาคใต้ เล่มที่ 1 (A-Es). พิมพ์ครั้งที่ 1. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 205 น.

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science.kew.org/. Retrieved 7 June 2023.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), June 7, 2023.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้