ชื่อไทย
อีแปะ
ชื่อท้องถิ่น
ซาคาง(อุดรธานี) / ตะพุนเฒ่า(ตราด) / แปะ(นครราชสีมา) / ผาเสี้ยนดอย(เชียงใหม่) / มะคัง(เชียงใหม่,อุบลราชธานี) / สะคางต้น(เลย) / หมากเล็กหมากน้อย(กลาง,ประจวบคีรีขันธ์) / หมากสะคั่ง(กลาง,เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Vitex quinata (Lour.) F.N.Williams

สกุล
Vitex
ชื่อพ้อง

Cornutia quinata Lour.

Vitex altmannii Moldenke

Vitex celebica Koord.

Vitex heterophylla Roxb.

ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงถึง 25 ม. เรือนยอด ค่อนข้างกลม โปร่ง แตกกิ่งก้านต่ำ ลำต้น เปลาตรง เปลือกนอกแตกเป็นร่องตื้นๆ สีน้ำตาล เปลือกในและกระพี้เหลือง

ใบ  ประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้ามสลับ ตั้งฉาก ใบย่อย 5 ใบ ใบตรงกลางมีขนาดใหญ่ ที่สุด ใบคู่ล่างชิดก้านใบร่วมมีขนาดเล็กที่สุด แผ่นใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5.0 ซม. ยาว 5-22 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ก้านใบร่วม ยาว 3-13 ซม.

ดอก  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ที่ปลาย กิ่ง ยาว 9-18 ซม. มีขนนุ่มสีน้ำตาลเหลือง หลอดกลีบเลี้ยง ยาว 2-3 มม. ปลายผายกว้าง แยกเป็นแฉกซี่ฟันตื้นๆ ผิวด้านนอกมีขน สีเขียว หลอดกลีบดอกยาว 6-8 มม. ปลายแยก 5 พู ขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะเป็นรูป 2 ปาก สีครีมหรือเหลืองมีแต้มสีม่วง ผิวด้านนอก มีขน เกสรเพศผู้ 4 อัน ยื่นยาวเหนือวงกลีบ 

ผล  สด เมล็ดเดียวแข็ง ค่อนข้างกลมถึง รูปไข่แกมรูปรี ขนาด 0.5-1.0 ซม. ผิวเกลี้ยง สีเขียว เมล็ดค่อนข้างกลม เปลือกหุ้มเมล็ด แข็ง ผิวขรุขระ สีน้ำตาล เนื้อในเมล็ดสีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าเบญจพรรณชื้น และ ป่าดิบแล้ง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคตะวันตก พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50-500 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น แอฟริกา มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์

ประเทศเอลซัลวาดอร์ รัฐฟลอริดา มิสซิสซิปปี เม็กซิโก เท็กซัส

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

-นิยมปลูกเป็นพืชไม้ประดับ

-ไม้ให้ร่มเงา

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช . 2559. “อีแปะ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=263 (19 สิงหาคม 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Vitex L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30000069-2 (11 สิงหาคม 2559).

The Plant List. 2013. “Vitex quinata (Lour.) F.N.Williams.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-213733 (19 สิงหาคม 2560).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้