ชื่อไทย
ตานหม่อน
ชื่อท้องถิ่น
ข้ามักหลอด ช้ามักหลอด (หนองคาย)/ ลีกวนยู (กรุงเทพฯ)/ ตานหม่น (นครศรีธรรมราช)/ ตานค้อน (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Tarlmounia elliptica (DC.) "H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan"

สกุล
Vernonia
ชื่อพ้อง

Cacalia elaeagnifolia Kuntze

Strobocalyx elaeagnifolia (DC.) Sch.Bip.

Strobocalyx elliptica (DC.) Sch.Bip.

Vernonia elaeagnifolia DC.

Vernonia elliptica DC.

ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ตานหม่อนเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นและพยุงตัวขึ้นไป เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น ลำต้นแตกกิ่งก้านยาวเรียว แตกลำไต้ใหม่จากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน 

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โดยลักษณะของใบจะเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือบางครั้งเป็นหยักห่างๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 ซม. และยาวประมาณ 6-10 ซม. ใบเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีเงินหรือสีขาวนวล

ดอก ดอกมักออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบหรือที่ปลายยอด ซึ่งดอกย่อยเป็นสีขาวนวล กลีบดอกเป็นเส้นเล็กๆ จำนวนมาก ดอกมีกลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันด้านนอกมีขน

ผล ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลมีสัน 5 สัน

เมล็ด เมล็ดล่อนเป็นสีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าเต็งรัง ชอบแสงแดดรำไร ขึ้นในที่ค่อนข้างชื้น

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

พืชในจีนัสนี้มีการกระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของใต้หวัน และรัฐควีนแลนด์ ของออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำต้น เพาะเมล็ด

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ยอดอ่อน ใบอ่อน ลวก ต้มรับประทานเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว

ราก ช่วยคุมธาตุในร่างกาย ช่วยแก้พิษตานซาง ช่วยแก้ตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ ยาขับพยาธิไส้เดือน ช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยบำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์

ต้น ช่วยแก้ตานซาง ช่วยรักษาลำไส้ ยาขับพยาธิ ยาขับพยาธิไส้เดือน

ใบ ช่วยแก้ตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ ช่วยฆ่าพยาธิ ยาห้ามเลือด

ดอก ช่วยแก้ตานซางในเด็ก ช่วยรักษาลำไส้ ช่วยฆ่าพยาธิ

แหล่งอ้างอิง

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Tarlmounia H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77094699-1 (11 สิงหาคม 2560)

ThaiHerbal.org. 2015. “ตานหม่อน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/2926/2926 (11 สิงหาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Tarlmounia elliptica (DC.) "H.Rob., S.C.Keeley, Skvarla & R.Chan" ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-150007 (11 สิงหาคม 2560).

WIKIPEDIA. 2015. “Tarlmounia”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Tarlmounia (11 สิงหาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้