ชื่อไทย
มะหาด
ชื่อสามัญ
Monkey Jack
ชื่อวิทยาศาสตร์

Artocarpus lacucha Roxb. ex Buch.-Ham.

สกุล
Artocarpus
สปีชีส์
lacucha
ชื่อพ้อง

Artocarpus ficifolius W.T. Wang

Artocarpus lakoocha Roxb.

Artocarpus yunnanensis H.H.Hu

ชื่อวงศ์
MORACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 15-20 ม. เปลือกต้นสีดำ ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ

ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับ ลักษณะใบเป็นรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสากคายมือ ขอบใบเรียบ มีความกว้างประมาณ 5-20 ซม. มีความยาวประมาณ 10-30 ซม. ก้านใบยาว 2-3 ซม. มีหูใบเล็กร่วงง่าย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศผู้กลม ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ปลายกลีบดอกหยัก ดอกเพศเมีย มีกลีบดอกค่อนข้างกลม โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด

ผล เป็นผลรวม รูปทรงกลมบิดเบี้ยว มีขนาด 5-8 ซม. ผิวมีขน เนื้อผลนุ่มสีชมพู เมล็ดรูปขอบขนาน มีหลายเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

สามารถพบได้ตามที่กึ่งโล่งแจ้งตามป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-1,800 ม.

ถิ่นกำเนิด

พม่า, ไทย, สุมาตรา, คาบสมุทรมาเลเซีย สิงคโปร์ และบอร์เนียว

การกระจายพันธุ์

กระจายไปทั่วอนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท (แม้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย) ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชให้ร่มเงา

แก่น เป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ แก้กระษัย ละลายเลือด

ผงบวกหาด ใช้ละลายน้ำเย็นดื่ม เป็นยาขับพยาธิในท้อง ใช้ละลายน้ำทาแก้ผื่นคัน

เปลือกลำต้น ใช้เปลือกสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้หรือยาขับพยาธิ

ราก ใช้รากสดหรือแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้แก้พิษร้อนใน แก้กระษัยในเส้นเอ็น และช่วยขับพยาธิ

หมายเหตุ

ผงบวกหาด คือ การนำเอาเนื้อไม้มาต้มเคี่ยวจนเป็นฟอง แล้วช้อนฟองใส่ผ้ากรอง จะได้ฟองสีนวลจับเป็นก้อน บีบน้ำออกให้แห้งแล้วย่างไฟจนเหลือง

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพร พืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 หน้า.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Artocarpus lacucha Buch.-Ham.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=150&name=หาด,%20มะหาด (15 กรกฎาคม 2559).

National Parks Board. 2013. “Artocarpus lacucha Buch.-Ham.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=3571 (15 กรกฎาคม 2559).

The Plant List. 2013. “Artocarpus lacucha Buch.-Ham.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2654005 (2 พฤษภาคม 2560).

wikipedia. “Artocarpus lacucha”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Artocarpus_lacucha (2 พฤษภาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้