ชื่อไทย
หูกระจง
ชื่อท้องถิ่น
หูกวางแคระ (กทม.)
ชื่อสามัญ
Black afara
ชื่อวิทยาศาสตร์

Terminalia ivorensis A. Chev.

สกุล
Terminalia
สปีชีส์
ivorensis
ชื่อวงศ์
COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่ในป่าผลัดใบ สูงตั้งแต่ 15-46 ม. ลำต้นตั้งตรง นอกจากนี้ยังมีร่อง สามารถแตกกิ่งก้านได้ถึง 30 ม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2.0-4.8 ม. ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้น ๆ หนาทึบ แตกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น เมื่อต้นโตเต็มที่ปลายกิ่งจะลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ รูปไข่กลับขนาดเล็ก กว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 1.5-3.0 ซม. ปลายใบมน โคนใบสอบ สีเขียวเป็นมัน

ดอก คล้ายดอกกระถินณรงค์ ขนาดเล็กสีขาว ดูกลืนไปกับทรงต้น มักมองไม่เห็นถ้าไม่สังเกต

ผล มีขนาดเล็ก รูปไข่หรือทรงรี

เมล็ด เมล็ดหูกระจงจะคล้ายกับเมล็ดพุทรา

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ถูกพบที่เขตร้อนชื้น เหนือระดับทะเลปานกลาง 1,200 ม. อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 20-33 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 1,250-3,000 มม.

อัตราการเจริญเติบโตเร็ว
ดินดินทุกประเภท
น้ำ: ปานกลาง ทนน้ำท่วมขัง
แสงแดดเต็มวัน

ถิ่นกำเนิด

ทางตะวันตกของแอฟริกาเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

นิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดเนื่องจากเจริญเติบโตได้เร็ว และได้ทรงพุ่มที่สวยงาม

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

เปลือกไม้ นำไปต้มเป็นยา และมีของเหลวสีแดงที่มีสารแทนนินช่วยในการรักษาบาดแผล

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “หูกระจง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/terminalia/ (19 พฤศจิกายน 2559).

The Plant List. 2013. “Terminalia ivorensis A.Chev.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2434278 (19 พฤศจิกายน 2559).

Useful Tropical Plants. 2016. “Terminalia ivorensis A. Chev.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Terminalia+ivorensis (19 พฤศจิกายน 2559).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้