ชื่อไทย
จันทนา
ชื่อท้องถิ่น
จันทน์ขาว(กลาง,ประจวบคีรีขันธ์) / จันทน์ใบเล็ก(ประจวบคีรีขันธ์) / จันทน์หอม (กลาง,ระยอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Tarenna hoaensis Pit.

สกุล
Tarenna
ชื่อพ้อง

ไม่มี

ชื่อวงศ์
RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 ม. ตามต้นมีร่องเล็กๆ ตามยาวของต้น เปลือกสีเทาอ่อน เนื้อในสีเหลืองหรือขาว

ใบ  ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม ขนหนา เกลี้ยง เป็นมัน สีขาว ขอบใบเกลี้ยงและขนาน กว้างประมาณ 8 ซม. ยาว 12- 20 ซม. มีหูใบร่วมอยู่ 2 ใบ 

ดอก ออกเป็นช่อ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแจกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว ดอกมีกลิ่นหอม ยอดเกสรเพศเมียมีรูปคล้ายกระบอง ยื่นพ้นออกมานอกกลีบดอก

ผล ผลสดกลม สีเขียว ผิวเกลี้ยง เมล็ด 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญในที่ร่วนซุย ทนต่อความแห้งแล้ง อาจพบตามป่าโปร่งและป่าดิบแล้งทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เวียดนาม และกัมพูชา

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม- พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ใช้เนื้อไม้บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ตับ ปอดและดีพิการ แก้เหงื่อตกหนัก ขับพยาธิ บำรุงธาตุไฟ บำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี  แก้ไข้ร้อน บำรุงเลือดลม บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์ ทำให้เกิดปัญญาและราศี แม้มลทิน แก่น แก้ไข้กำเดา บำรุงหัวใจ แก้ลม แก้อ่อนเพลีย

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “จันทน์ขาว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=48 (6 มกราคม 2560).

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Tarenna hoaensis Pit.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=31593 (5 มกราคม 2560).

The Plant List. 2013. “Tarenna hoaensis Pit.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-201799 (5 มกราคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้