Handroanthus chrysotrichus (Mart. ex DC.) Mattos
Tabebuia chrysotricha (Mart. ex DC.) Standl.
Tecoma chrysotricha Mart. ex DC.
Tecoma flavescens Mart. ex DC.
Tecoma grandis Kraenzl.
Tecoma obtusata DC.
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 ม. ผลัดใบ
ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 5 ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ แผ่นใบสาก มีขนสีน้ำตาลปกคลุม โคนใบสอบ ปลายใบแหลมมน ขอบใบหยักห่างๆ
ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขนสีน้ำตาลคลุม หนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร
ผล ผลเป็นผลแห้งแตก สีน้ำตาล มีขนคลุมหนาแน่น เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
การปลูกเลี้ยง ดินร่วน อากาศเย็น แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน (บราซิล)
ไม้การค้า
การขยายพันธุ์ที่เหมาะสมคือการเพาะเมล็ดและเสียบยอด
ปลูกเป็นไม้ประดับ
ความแตกต่างของเหลืองอินเดียกับเหลืองเชียงราย ตรงที่ใบ กลีบเลี้ยง และฝักของ ต้นเหลืองเชียงรายนั้น มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา. ““เหลืองเชียงราย” เหลืองสะพรั่งตระการตา”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://agri-tech.sakaeo.buu.ac.th/images/imagenews/Aril2559/บทความเหลองเชยงราย_อ.หม.pdf (21 กรกฎาคม 2560).
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เหลืองเชียงราย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2340 (21 กรกฎาคม 2560).
The Plant List. 2013. “Handroanthus chrysotrichus (Mart. ex DC.) Mattos”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-317139 (21 กรกฎาคม 2560).