ชื่อไทย
ชมพู่น้ำดอกไม้
ชื่อท้องถิ่น
ฝรั่งน้ำ (ภาคใต้)/ มะซามุด (น่าน)/ มะน้ำหอม (ภาคเหนือ)/ มะห้าคอกลอก (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
<p>Rose apple</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Syzygium jambos (L.) Alston

สกุล
Syzygium 
สปีชีส์
jambos 
ชื่อพ้อง

Eugenia jambos L.

Eugenia decora Salisb.

Eugenia jamboides Wender.

Myrtus jambos (L.) Kunth

Plinia jambos (L.) M. Gómez

Eugenia malaccensis Blanco

Eugenia jambosa Crantz

Eugenia monantha Merr.

Jambosa jambos (L.) Millsp.

Jambosa leptostachya Blume

Myrtus jambos (L.) Kunth

Plinia jambos (L.) M. Gómez

Syzygium leptostachyum (Blume) Merr. & L. M. Perry

Syzygium merrillii Masam.

Syzygium monanthum (Merr.) Merr. & L. M. Perry

 

ชื่อวงศ์
MYRTACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 7-15 ม. เปลือกแตกเป็นร่องตื้น สีน้ำตาล 

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือรูปรี กว้าง 3-5.5 ซม. 8-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 12-20 เส้น เส้นขอบในห่างจากขอบใบประมาณ 0.5 มม. ก้านใบยาว 0.3-1 ซม. 

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง มี 1-8 ดอก ดอกสีขาวนวล ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-5 ซม. ก้านดอกกยาวประมาณ 1ซม. ฐานดอกรูปถ้วยปลายผายคล้ายรูปลำโพง สีเขียวหรือสีขาว กว้าง 0.7-1 ซม. ยาว 1-2 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กว้างและยาวประมาณ 1 ซม. โคนเชื่อมติดที่ขอบฐานดอกรูปถ้วย กลีบดอกสีขาว มี 4 กลีบ รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม กว้าง 0.6-1.5 ซม. ยาว 1-2 ซม.  เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสีขาวนวลหรือสีขาวอมเหลืองอ่อน ยาว 2.5-4 ซม. เกสรเพศเมียรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ก้านยอดเกสรเพศเมียยาว 3.5-4 ซม. 

ผล แบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด สีขาวนวล สุกสีเหลืองหรือสีชมพู รูปทรงกลมแป้นหรือรูปทรงรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม. ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน

เมล็ด สีน้ำตาล มี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ที่ระดับความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 600-1,400 ม.

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย (อัสสัม) เนปาล บังกลาเทศ เมียนมาร์ ทางตอนใต้ของจีน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดาน้อย เกาะสุมาตรา

การกระจายพันธุ์

ชมพู่น้ำดอกไม้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย มีการแพร่กระจายไปยังทวีปอเมริกาและแอฟริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ
แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ชมพู่น้ำดอกไม้”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2423 (18 กรกฎาคม 2560).

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร. “ชมพู่น้ำดอกไม้”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/hrc/chumphon/index.php?option=com_content&view=article&id=85:2011-06-07-10-01-49&catid=35:2011-02-22-09-59-01&Itemid=77 (18 กรกฎาคม 2560).

Byng, J. W., F. Barthelat, N. Snow and B. Bernardini. 2016. Revision of Eugenia and Syzygium from the Comoros archipelago. Phytotaxa 252 (3): 163-184.

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 3 August 2022.

The Plant List. 2013. “Syzygium jambos (L.) Alston”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-199743 (18 กรกฎาคม 2560).

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), August 3, 2022.

Useful Tropical Plants. 2017. “Syzygium jambos”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Syzygium+jambos (18 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้