Artabotrys siamensis Miq.
-
ลำต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีลักษณะของต้น ใบ และดอก คล้ายกับกระดังงาจีนมาก แตกต่างกันที่การเวกเป็นไม้พื้นเมืองของไทย มีขนทั่วไปตามปลายกิ่ง ก้านและใบ ใบและดอกมีขนาดเล็กกว่า
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 6-18 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม สีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ ตามเส้นกลางใบมีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบบางและเหนียว เส้นแขนงใบมี 7-9 คู่ ก้านใบยาว 5-6 มม.
ดอก ดอกเดี่ยว ออกบนส่วนโค้งหรือปลายสุดของก้านช่อที่งอเป็นตะขอ ตะขอยาว 1.8-2.0 ซม. ก้านดอกยาว 1.5 ซม. มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กสีเขียวปลายกลีบงอขึ้น กลีบดอกอ่อนสีเขียวเมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปรี เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกมีขนมากกว่าและเนื้อกลีบแข็งกว่าดอกกระดังงาจีน เกสรเพศผู้ขนาดเล็กจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน เกสรเพศเมียมีเมือกเหนียวติดกัน
ผล ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 1.5 ซม. มีผลย่อย 6-18 ผล แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.8 ซม. ยาว 2 ซม. ก้านผลย่อยสั้นมาก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง
เมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
พบในป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 50-300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
เอเชีย
พบในไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง ในต่างประเทศพบที่พม่าและอินโดนีเซีย
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
เปลือกลำต้น เข้ายาหอม ผสมกับสมุนไพรอื่น เป็นยาบำรุงหัวใจ
ปัจจุบันคนทั่วไปเรียกตันกระดังงาจีนว่าการเวก เนื่องจากต้นไม้ทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะทั่วไปคล้ายกันมาก
จารีย์ บันสิทธิ์. 2538. การเวก. อ้างโดย ราชบัณทิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก . เพื่อนพิมพ์ จำกัด. 495 น.
คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2544. พรรณไม้วงศ์กระดังงา. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. 464 น.
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2540. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.
The Plant List. 2013. “Artabotrys siamensis Miq.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2653363 (14 กรกฎาคม 2559).