ชื่อไทย
กระดังงาจีน
ชื่อท้องถิ่น
การเวก (ภาคกลาง)/ สะบันงาจีน (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Climbing Lang-Lang/ Tail Grape/ Ylang-ylang Vine
ชื่อวิทยาศาสตร์

Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari

สกุล
Artabotrys
ชื่อพ้อง

Annona hexapetala L.f.

Artabotrys odoratissimus Wight & Arn.

Artabotrys uncata (Lour.) Baill.

Unona uncata (Lour.) Dunal

ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น กิ่งก้านเลื้อยพาดไปไกลสูง 5-10 ม. ยอดอ่อนสีเขียว ไม่มีขนหรือมีขนน้อยมาก

ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกกว้าง กว้าง 2.5-6.0 ซม. ยาว 6-16 ซม. โคนใบรูปลิ่มถึงเรียวแหลม 

ดอก ช่อดอก 1-2 ช่อดอก ดอกขนาดประมาณ 2.5-3.0 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีเขียวถึงแกมเหลือง 

ผล ผลกลุ่ม มีผลย่อย 7-15 ผล รูปกลมรี ปลายเป็นติ่ง เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี 1-2 เมล็ด ผลแตกเมื่อแห้ง

เมล็ด สีน้ำตาลซีด ขนาด 1.5-2.0 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบที่ระดับความสูง 100-300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย ศรีลังกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นซุ้มตามทางเดินริมถนนเพื่อให้ร่มเงา แต่ควรตัดแต่งอยู่เสมอ กระดังงาจีน ลักษณะคล้ายกับการเวกแต่มีดอกดก กลิ่นหอมแรงกว่า

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “กระดังงาจีน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/กระดังงาจีน/ (14 กรกฎาคม 2559).

Flora of China. “Artabotrys hexapetalus”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200008511 (16 กุมภาพันธ์ 2560).

The Plant List. 2013. “Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2653287 (16 กุมภาพันธ์ 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้