ชื่อไทย
มะค่าแต้
ชื่อท้องถิ่น
กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง)/ กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา)/ ก่อเก๊าะ ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์)/ แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ มะค่าแต้ (ทั่วไป)/ มะค่าหนาม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ)/ มะค่าหยุม (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.

สกุล
Sindora
สปีชีส์
siamensis
ชื่อพ้อง

Galedupa cochinchinensis (Baill.) Prain

Galedupa siamensis (Teijsm.) Prain

Sindora cochinchinensis Baill.

Sindora siamensis var. siamensis

Sindora wallichii var. siamensis (Teijsm.) Baker

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นสูง 6-12 ม. กิ่งอ่อนมีขน

ใบ ใบประกอบแบบขนนกหนึ่งชั้น ปลายใบคู่ เรียงสลับ หูใบรูปเคียว ใบย่อย เรียงตรงข้าม กว้าง

2-8 ซม. ยาว 6-19 ซม. รูปไข่กลับและรูปรี ปลายใบเว้าตื้นและมน โคนใบแหลม ขอบใบหยักมน ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 2-3 มม.

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 6-7 ซม. ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 2-4 มม. ใบประดับช่อดอกรูปใบหอก ยาว 5 มม. ดอกในช่อจำนวนมาก ก้านดอกยาว 1-1.2 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 3-4 มม. ยาว 3-6 ซม. กลีบเลี้ยง สีเขียว 4 กลีบ กว้าง 3-4 มม. ยาว 8-10 มม. มีขนที่ส่วนปลายกลีบเลี้ยงมีหนามกระจายอยู่ กลีบดอก สีแดงอมเหลือง 1 กลีบ กว้าง 3 มม. ยาว 8 มม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น อีก 1 กลีบ เรียวยาว 7 มม. มีขนปกคลุม เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 9 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ ก้านชูรังไข่ยาว 2-3 มม.

ผล ผลเป็นฝักแบถั่ว กว้าง 4.5-7.0 ซม. รูปกลม แบน ผนังมีหนามแข็ง หนามยาว เมล็ดแบน รูปรี สีดำ มีเนื้อเยื่อสีเหลืองติดที่ฐาน มี 1-3 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด

 

บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว มลายา พม่า ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

-นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา

-สมุนไพร,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย,เมล็ด ต้มดื่ม แก้พยาธิ แก้โรคผิวหนัง เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องมือเกษตรกรรมและทำเครื่องเรือน

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “มะค่าแต้.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=30&view=showone&Itemid=59 (9 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Sindora siamensis Miq.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46165 (9 มกราคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:518609-1 (9 มกราคม 2560)

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้