ชื่อไทย
รัง
ชื่อท้องถิ่น
เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ)/ รัง (ภาคกลาง)/ เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์)/ ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่)/ แลบอง เหล้ท้อ เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ฮัง (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Dark red meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea siamensis Miq.

สกุล
Shorea
สปีชีส์
siamensis
ชื่อวงศ์
DIPTEROCARPACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูง 10-25 ม. ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง เปลือกนอกมีสีน้ำตาลปนเทา เปลือกแตกแบบร่องสี่เหลี่ยมหรือร่องยาวลึก เปลือกในสีน้ำตาลแดง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายมน โคนใบรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบโค้งคันศร ท้องใบเกลี้ยง ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง

ดอก ช่อแบบแยกแขนง กลับเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียว โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น

5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ยาว 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ปลายกลีบบิดเวียนเป็นรูปกังหัน เกสรตัวผู้ 15 อัน รอบเกสรเพศเมีย

ผล ผลแห้งไม่แตก รูปไข่ ผิวแข็ง ขนาด 1x1.5 เซนติเมตร มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก สั้น 2 ปีก ยาว 3 ใน 4 ของปีกยาว มีเส้นปีก 7-9 เส้น ผลมีสีน้ำตาล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงเหนือจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 50-1,000 ม. รวมถึงเขาหินปูน

ถิ่นกำเนิด

 

กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พบได้ที่พม่า ไทย ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม-มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
มกราคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

-นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา

-ที่อยู่อาศัย,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย,สาร pylogallol ในเปลือกผสมน้ำมันใช้ทาไม้ได้

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “รัง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=32&view=showone&Itemid=59 (9 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Shorea siamensis Miq.”[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50293520 (9 มกราคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Shorea siamensis Miq.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:321447-1 (9 มกราคม 2560)

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้