ชื่อไทย
ขี้เหล็ก
ชื่อท้องถิ่น
ขี้เหล็กแก่น(ราชบุรี) / ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง,เหนือ) / ขี้เหล็กหลวง เหนือ) / ขี้เหล็กใหญ่(กลาง)
ชื่อสามัญ
Cassod tree/ Thai copper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna siamea (Lam.) H.S. Irwin & Barneby

สกุล
Senna
สปีชีส์
siamea
ชื่อพ้อง

Cassia arayatensis "sensu Naves, non Litv."

Cassia arborea Macfad.

Cassia florida Vahl

Cassia gigantea DC.

Cassia siamea Lam.

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8-5 ม. เปลือกนอกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ตทั่วไป แตกตามยาวเป็นร่องตื้นๆ เปลือกในสีน้ำตาลอ่อน กิ่งก้านโปร่ง

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ก้านใบยาว 30 ซม. มีใบย่อย 5-10 คู่ ใบย่อยออกตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบเข้าเล็กน้อย ปลายมนหรือเว้นตื้น ผิวใบและขอบใบเรียบ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีสีแดงเรื่อ ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบบาง ก้านใบย่อยสั้น เก็นเส้นใบชัดเจน

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 30 ซม. ดอกบานจากโคนสู่ปลาย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ งุ้มเข้าเป็นรูปช้อน รูปร่างค่อนข้างกลม หนา แต่ละกลีบไม่ติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ มีสีเหลือง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5-2 ซม. มีก้านกลีบดอกสั้น ๆ กลีบดอกมีขนาดเท่ากัน หลุดร่วงได้ง่าย ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-4 ซม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน แต่มี 2 อันที่มีขนาดใหญ่กว่าอันอื่น รังไข่รูปรี มีขนประปราย

ผล เป็นฝักแบน นูนตรงที่ติดเมล็ด ฝักกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 15-30 ซม. ผลแก่มีสีน้ำตาล มีเมล็ด 20-30 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ และในที่โปร่งชุ่มชื้นทั่วประเทศ

ถิ่นกำเนิด

ลาว พม่า ศรีลังกา ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พบทั่วไปในทวีปเอเชียเขตศูนย์สูตร

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ให้ร่มริมทาง

ใบอ่อน ใช้เป็นอาหารและเป็นยาระบาย

ดอก ใช้เป็นยานอนหลับ แก้หืด ขับพยาธิ

ฝัก ภายในมีสารฝาดสมานแผล ใช้รักษาท้องร่วง และยังมีสารที่ช่วยระบายอ่อนๆ

ราก ใช้ผสมเป็นตัวยาขับพยาธิ แก้ไข้ บำรุงธาตุ แก้โชคเหน็บชา

ลำต้นและกิ่ง เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ทั้งต้น เปลือกต้น แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาอายุวัฒนะ

กระพี้ บำรุงโลหิต แก่น เป็นยาระบาย แก้เบาหวาน ลดความดัน ช่วยให้นอนหลับ

แหล่งอ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2540. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 155 น.

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ คอดคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. 315 น.

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Senna siamea”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:911410-1 (9 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1117 (9 กรกฎาคม 2560).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้