ชื่อไทย
แสมสาร
ชื่อท้องถิ่น
ขี้เหล็กโคก ขี้เหล็กแพะ(เหนือ) / ขี้เหล็กป่า(ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) / ขี้เหล็กสาร(นครราชสีมา,ปราจีนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna garrettiana (Craib) H.S.Irwin & Barneby 

สกุล
Senna
สปีชีส์
garrettiana 
ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 10 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีความกว้างประมาณ 2.0-5.0 ซม. และมีความยาวประมาณ 5.0-9.0 ซม.

ดอก เป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 9.0-20.0 ซม. ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปกลม สีเขียวออกเหลือง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบมน โคนกลีบเรียว

ผล เป็นฝักแบน บิด ผิวเรียบ มีความกว้างประมาณ 2.0-4.0 ซม. ยาวประมาณ 15.0-22.0 ซม. เมล็ดมี 20 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ตามป่าโปร่ง ป่าเบญพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าที่ราบต่ำทั่วไปและป่าผลัดใบ พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 500 ม.

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

พบขึ้นกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤษภาคม-ตุลาคม และผลจะแก่ตุลาคม-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

แก่น มีรสขมเผื่อน เป็นยาระบาย ขับเสมหะ ถ่ายกระษัย ทำให้เส้นเอ็นอ่อน แก้เลือด แก้ลม ฟอกถ่ายประจำเดือนสตรี

ใบ ใช้บำบัดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดของหนู เป็นยาขับพยาธิ ใช้บำบัดโรคงูสวัด

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพร พืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 หน้า

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Senna garrettiana”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:911339-1 (8 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Senna garrettiana (Craib) H.S.Irwin & Barneby”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-33023 (8 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้