ชื่อไทย
รวงผึ้ง
ชื่อท้องถิ่น
สายน้ำผึ้ง (ภาคกลาง)/ ดอกน้ำผึ้ง, น้ำผึ้ง (ภาคเหนือ)/ กะสิน, กาสิน (อ. ศรีสงคราม นครพนม)
ชื่อสามัญ
<p>Yellow star</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.

สกุล
Schoutenia 
สปีชีส์
glomerata
ชื่อพ้อง

Schoutenia peregrina Craib

ชื่อวงศ์
MALVACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้น สูง 5-8 ม. อาจสูงได้ถึง 15 ม. เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนรูปดาวสีน้ำตาลอมแดงหนาแน่น 

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 5-9 ซม.  มักไม่สมมาตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีเกล็ดและขนหนาแน่น มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 2-5 เส้น ก้านใบบวมหนา มีหูใบรูปใบหอก ยาว 5-7 มม. ร่วงง่าย

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 1-2 ซม. ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. คล้ายรูปดาว มีกลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงสีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกลึกมากกว่าครึ่งหนึ่ง 5 แฉก ด้านนอกมีขนสั้นสีน้ำตาลอมแดง ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล แบบผลแห้งไม่แตก รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. มีขนหนาแน่น มีกลีบเลี้ยงติดทน 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามริมน้ำ  ป่าบุ่งป่าทาม ที่สูงใกล้ระดับทะเลปานกลางถึง 200 ม. 

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในต่างประเทศพบที่กัมพูชา

เป็นพืชพื้นเมืองของที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลุ่มน้ำโตนเลสาบ (กัมพูชา) ปัจจุบันเป็นพืชที่หายากในธรรมชาติ ยังหลงเหลือให้พบเห็นได้ตามริมแม่น้ำน่านใน จ.นครสวรรค์ และริมแม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร แต่มักพบเป็นไม้ปลูกประดับตามสถานที่ต่าง ๆ 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำและตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
กรกฎาคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-กุมภาพันธ์
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา

เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เผาถ่าน ใช้ในงานก่อสร้าง หรือทำเฟอร์นิเจอรืที่ใช้ในร่ม 

หมายเหตุ

รวงผึ้งเป็นพรรณไม้เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

แหล่งอ้างอิง

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “รวงผึ้ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1126  (7 กรกฎาคม 2560).

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2552. ไม้ดอกหอม ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 351 น.

มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทามภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “รวงผึ้ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/yellow-star/ (7 กรกฎาคม 2560).

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติม กรุงเทพฯ.

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 13 september 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), September 13, 2022.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้