ชื่อไทย
โสก
ชื่อท้องถิ่น
กาแปะห์ไอย์ (มลายู-ยะลา)/ ชุมแสงน้ำ (นราธิวาส, ยะลา)/ ส้มสุก (ภาคเหนือ)/ โสก (ภาคกลาง)/ โสกน้ำ (สุราษฎร์ธานี)/ ตะโดลีเต๊าะ (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ
<p>Asoka/ Asoke Tree/ Sorrowless tree</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Saraca indica L.

สกุล
Saraca
สปีชีส์
indica
ชื่อพ้อง

Jonesia asoca sensu auct.

Jonesia minor Zoll. & Moritzi

Jonesia pinnata Willd.

Saraca arborescens Burm.f.

Saraca asoca sensu auct.

Saraca bijuga Prain

Saraca harmandiana Pierre

Saraca kunstleri Prain

Saraca indica var. bijuga (Prain) Gagnep.

Saraca lobbiana Baker

Saraca pierreana Craib

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 ม. เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาว สีน้ำตาลเข้ม เรือนยอดทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านมาก ปลายกิ่งลู่ลง 

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ เรียงเวียน ยาว 10-50 ซม. มีใบย่อย 1-7 คู่ เรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2-10 ซม. ยาว 5-30 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนรูปลิ่ม กลมมน หรือเว้าตื้น ขอบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 7-9 เส้น ก้านใบยาว 5-10 มม. ใบอ่อนสีเขียวอ่อน 

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อยาว 3-15 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.2-1.5 ซม. มีกลิ่นหอม ฐานดอกรูปหลอด กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเหลืองอมส้มหรือสีส้มอมแดง รูปไข่แกมรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ โคนกลีบเชื่อมติดที่ขอบฐานดอก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 6-8 เกสร ก้านชูอับเรณูยื่นพ้นกลีบเลี้ยง 1-2 ซม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ขอบมีขน

ผล แบบผลแห้งแตกสองแนว เป็นฝักแบน รูปรี รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-6 ซม. ยาว 6-30 ซม. ปลายมีจะงอยสั้น 

เมล็ด รูปไข่หรือรูปรี แบน สีน้ำตาล มี 1-6 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางถึง 900 ม. 

ถิ่นกำเนิด

เมียนมา ไทย ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา เกาะชวา)

การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่เมียนมา ไทย ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู และอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา เกาะชวา)

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-เมษายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ดอก บำรุงธาตุแก้ไอและขับเสมหะ

ใบอ่อนและดอก สามารถนำไปประกอบอาหาร เช่น แกงส้ม ยำ หรือรับประทานกับน้ำพริก

 

แหล่งอ้างอิง

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2552. ไม้ดอกหอม ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 351 น.

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.

วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2551. “อโศก”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th/?knowledges=อโศก-๑๘-มีนาคม-๒๕๕๑ (19 ตุลาคม 2559).

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติม กรุงเทพฯ.

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 13 september 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), September 13, 2022.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้