ชื่อไทย
ลิ้นมังกรสตักกิอาย
ชื่อท้องถิ่น
งาช้างแมมมอธ ว่านงาช้าง(กลาง)
ชื่อสามัญ
Elephant Tusks
ชื่อวิทยาศาสตร์

Sansevieria stuckyi God.-Leb.

สกุล
Sansevieria
ชื่อพ้อง

Acyntha stuckyi (God.-Leb.) Chiov.

Sansevieria andradae God.-Leb. ex Gérôme

Sansevieria andradae God.-Leb.

ชื่อวงศ์
ASPARAGACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้อวบน้ำ ลำต้นเป็นพุ่มใหญ่ สูงถึง 2 ม.

ใบ กลม ออกเรียงสลับระนาบเดียว มีหน่อละ 1-2 ใบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. ยาว 50-100 ซม. มีร่องเล็ก ๆ ตลอดความยาวใบ ปลายใบค่อนข้างแหลมแผ่นใบสีเขียวเข้ม แข็งหนา ลักษณะคล้าย S. cylindrica แต่ใบแข็งหนากว่าและมีร่องเล็กกว่า

ดอก ช่อดอกเป็นช่อกระจุก ยาว 30-35 ซม. ดอกสีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

อัตราการเจริญเติบโตช้า
ดินดินร่วนหรือดินปนทราย ระบายน้ำดี
น้ำน้อย-ปานกลาง
แสงแดด : รำไรถึงครึ่งวัน

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตกจากเคนย่าถึงโมซัมบิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกกอหรือปักชำใบ

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางหรือลงแปลงประดับสวน

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ลิ้นมังกรสตักกิอาย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/standard/stuckyi/ (2 สิงหาคม 2560).

LLIFLE - Encyclopedia of living forms. 2017. “Sansevieria stuckyi God.-Leb.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.llifle.com/Encyclopedia/SUCCULENTS/Family/Dracaenaceae/32483/Sansevieria_stuckyi (2 สิงหาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Sansevieria stuckyi God.-Leb.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-279550 (2 สิงหาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้