ชื่อไทย
จามจุรี
ชื่อท้องถิ่น
ก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู จามจุรี (ภาคกลาง)/ ลัง สารสา สำสา (ภาคเหนือ)/ ตุ๊ดตู่ (ตาก)/ เส่คุ่ เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Cow tamarind/ Rain tree
ชื่อวิทยาศาสตร์

Albizia saman (Jacq.) F. Muell. 

สกุล
Albizia
สปีชีส์
saman
ชื่อพ้อง

Samanea saman (Jacq.) Merr.

Acacia propinqua A.Rich.

Albizia saman (Jacq.) F. Muell. 

Calliandra saman (Jacq.) Griseb.

Enterolobium saman (Jacq.) Prain

Feuilleea saman (Jacq.) Kuntze

Inga cinerea Willd.

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ

ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้าม แกนกลางใบประกอบ ยาว 10-18 ซม. ก้านใบประกอบยาว 3-5 ซม. ใบประกอบ แยกแขนงตรงกันข้าม 2-5 คู่ บนแขนงเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายมน มักเว้าตื้นหรือมีติ่งสั้น โคนเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นหลังใบเรียบ ท้องใบมีขนนุ่ม ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อยเรียงตรงข้าม 2-10 คู่ คู่ที่อยู่ปลายบนมีขนาดใหญ่ที่สุดและลดหลั่นลงไปจนถึงคู่ล่างมีขนาดเล็กสุด มีความกว้าง 0.6-4.0 ซม. ยาว 1.5-6.0 ซม. ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3 ซม. ช่อดอกรวมบานเต็มที่กว้าง 5-6 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก

ดอก ช่อดอกแบบกระจุกแน่น ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อตั้งขึ้น มีดอกจำนวนมาก ดอกวงนอกมีก้านสั้นๆ ดอกวงในไม่มีก้าน ก้านช่อดอกยาว 5-9 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวอมเขียว 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปแตร 1.0-1.2 ซม. มีเกสรเพศผู้สีชมพูจำนวนมาก ติดกับโคนดอก ยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่แบนยาว

ผล เป็นฝักแห้ง รูปขอบขนาน สีน้ำตาลดำ กว้าง 1.5-2.4 ซม. ยาว 15-20 ซม. คอดเล็กน้อยเป็นตอนๆระหว่างเมล็ด

เมล็ด แบนสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน กว้าง 6 มม. ยาว 10 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำ ที่ราบลุ่มทั่วประเทศ

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาใต้เขตร้อน

การกระจายพันธุ์

พบได้ทั่วไปในเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง, เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
มกราคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้

เปลือกต้น ป่นละเอียดเป็นยาสมานแผล และเมล็ด รักษาอาการบิด ท้องเสีย

เนื้อไม้ ใช้ในงานแกะสลัก ทำเครื่องใช้ เครื่องเรือนต่างๆ

ใบ แก้ปวดแสบปวดร้อน

เมล็ด แก้โรคผิวหนังเปลือกสมานแผลในปากคอ แก้ท้องร่วง

ฝักแก่ เป็นอาหารสัตว์

แหล่งอ้างอิง

คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “จามจุรี”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2331 (17 ตุลาคม 2559).

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Albizia saman (Jacq.) Merr.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-32292 (17 ตุลาคม 2559).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้