ชื่อไทย
จั๋งจีน
ชื่อท้องถิ่น
จั๋งเชียงใหม่
ชื่อสามัญ
Slender lady palm
ชื่อวิทยาศาสตร์

Rhapis humilis Blume

สกุล
Rhapis
สปีชีส์
humilis
ชื่อพ้อง

Chamaerops sirotsik H.Wendl.

Chamaerops excelsa var. humilior Thunb.

Licuala waraguh Blume

Licuala wixu Blume

Rhapis javanica Blume

ชื่อวงศ์
ARECACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นปาล์มแตกกอคล้ายจั๋งญี่ปุ่น แต่ต้นสูง ถึง 5 ม.ลำต้นมีแผ่นใยละเอียด มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำคลุมอยู่หนาแน่น 

ใบ ใบมีลักษณะคล้ายรูปพัด ขอบใบจักถึงสะดือ แตกเป็นใบย่อย 10-20 ใบ เรียงแผ่กว้างกว่าครึ่งวงกลม ใบย่อยเรียวยาว ปลายใบแหลม และอ่อนลู่ลง

ดอก ช่อดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบ

ผล ผลมีลักษณะกลม ขนาด 1 ซม. เมื่อสุกแล้วมีสีเขียวคล้ำ หากนำมาเพาะ ใช้เวลา 2-3 เดือน จึงจะงอก แต่ไม่ค่อยติดเมล็ด จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบที่ระดับความสูง 100-1000 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

จีนตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

การกระจายพันธุ์

จีนตอนใต้ มณฑลเสฉวน

ตอนใต้ของญี่ปุ่น เกาะคีวชู

การปลูกและการขยายพันธุ์

นำมาเพาะเมล็ด ใช้เวลา 2-3 เดือน จึงจะงอก แต่ไม่ค่อยติดเมล็ด จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

แหล่งอ้างอิง

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 304 น.

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Rhapis humilis Blume”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:669582-1 (23 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Rhapis humilis Blume". [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-177964 (23 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้