ชื่อไทย
ปีบยูนนาน
ชื่อสามัญ
<p>-</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Radermachera yunnanensis C. Y. Wu & C. Y. Yin

สกุล
Radermachera
สปีชีส์
yunnanensis
ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นต้นไม่ผลัดใบ สูง 1.5-16 ม. เปลือกเรียบ สีเทา มีช่องอากาศ (lenticel) จำนวนมาก

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ก้านใบยาว 6-11.6 ซม. แกนกลางใบยาว 14.5-21 ซม. มีใบย่อย 9-20 ใบ รูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 1.8-5 ซม. ยาว 3-9.7 ซม. ปลายแหลม เรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม โคนรูปลิ่มหรือสอบเรียว ขอบเรียบ แผ่นใบย่อยหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเป็นมัน เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 5-9 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3-6 มม. หรือไม่มีก้านใบย่อย

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 3.5-6.5 ซม. แกนกลางช่อดอกยาว 5-14 ซม. มีใบประดับย่อยรูปใบหอกหรือรูปแถบ ดอกรูปปากเปิด ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ร่วงง่าย กลับดอกสีชมพูแกมสีขาว หลอดกลีบดอกด้านในมีเส้นสีส้ม กลีบดอกช่วงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกแคบ ช่วงปลายผายออกเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกกลีบดอกยับย่น ขอบแฉกมีขนครุย เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 2 คู่ ยาวสองสั้นสอง โคนก้านชูอับเรณูมีขนต่อม มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 1 เกสร เกสรเพศเมียรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมีออวุลจำนวนมาก

ผล แบบผลแห้งแตกกลางพู รูปทรงกระบอกแคบ กว้าง 5-6.5 มม. ยาว 12-13.5 ซม. 

เมล็ด แบน รูปสี่เหลี่ยม มีปีกบาง 2 ข้าง สีขาว ค่อนข้างโปร่งแสง เมล็ดและปีกรวมกันกว้าง 2-4 มม. ยาว 0.4-1 ซม. มีเมล็ดจำนวนมาก 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
ถิ่นกำเนิด

จีน (ยูนนาน)

การกระจายพันธุ์

ปีบยูนนานเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ในประเทศไทยมีการนำมาปลูกประดับเกือบทุกภาค

ในต่างประเทศพบที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ด แต่ในประเทศไทยไม่นิยมเพาะเมล็ดเนื่องจากการปลูกเลี้ยงปีบยูนนานในประทศไทยมักไม่ค่อยติดผล

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกเกือบตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ในประเทศไทยมักไม่เป็นผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ปลูกเป็นไม้ประดับ

แหล่งอ้างอิง

วีรีศา บุญทะศักดิ์. 2563. อนุกรมวิธานพืชสกุล Dolichandrone (Fenzl) Seem., Mayodendron Kurz และ Radermachera Zoll. & Moritzi ฺ(Bignoniaceae) ในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

POWO.  2019. Plants of the World Online. Facilitated by the Royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet; http://www.plantsoftheworldonline.org/Retrieved July 20, 2022.

TPL.2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), July 20, 2022.

Zhang, Z. and T. Santisuk.  1998.  Bignoniaceae,pp. 213-225.In C. Y. Wu and P. H.   Raven, eds.  Flora of China Vol. 18.  Science Press, Beijing, China.

Chinese Plant Names. “Radermachera sinica”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200021438 (15 พฤศจิกายน 2559).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้