Prunus persica (L.) Batsch
Amygdalus communis var. persica (L.) Risso
Amygdalus persica L.
Amygdalus ferganensis (Kostina & Rjabov) T. T. Yu & L. T. Lu
Amygdalus laevis (DC.) Lej.
Amygdalus nucipersica (L.) Rchb.
Amygdalus persica var. aganonucipersica (Schübl. & G. Martens) T. T. Yu & L. T. Lu
Persica chinensis Lavallée
Persica domestica Risso
Persica laevis DC.
Persica vulgaris Mill.
ลำต้น ไม้ต้นผลัด สูงได้ถึง 10 ม. ไม่มีหนาม
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปแถบ กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 8-15 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. เกลี้ยง บางครั้งมีต่อมรูปคล้ายจานกระจายห่าง ๆ หูใบรูปลิ่มแคบ ร่วงง่าย
ดอก ส่วนมากเป็นดอกเดี่ยว บางครั้งออกเป็นคู่ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. ก้านดอกสั้น ฐานดอกรูปถ้วยขนาด 4-5 มม. ด้านนอกเกลี้ยง กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปรี ยาว 3.5-5 มม. ปลายมน ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกสีชมพู รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ยาว 1-1.7 ซม. รังไข่มีขนสั้นหนาแน่น โคนก้านยอดเกสรเพศเมียมีขนอุย
ผล แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงกลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. มีขนกำมะหยี่ ผลสุกสีเหลืองอมส้ม มีแต้มสีแดง ผนังผลชั้นกลางมีเนื้อ มีกลิ่นหอม ผนังผลชั้นในแข็ง รูปทรงรี เป็นร่องลึกเห็นชัด
ทางตอนเหนือและตอนกลางของจีน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เสียบกิ่ง หรือชำราก
ผล เนื้อผลหนาคล้ายผลแอปเปิ้ล มีสีขาวอมเหลือง มีรสกรอบ หวาน และกลิ่นหอมอ่อนๆ แปรรูปทำแยม ลูกท้อดอง ลูกท้อเชื่อม ลูกท้อแช่อิ่ม เป็นต้น โดยเฉพาะลูกท้อขนาดเล็กที่นิยมดองเป็นผลไม้หรือลูกท้อแช่อิ่ม ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านโรคหวัดหรือเชื้อโรคต่างๆ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาต่างๆ ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ส่งเสริมการสร้างกระดูก และฟัน ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
เมล็ด ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบรรเทาอาการไอ ช่วยแก้อาการท้องเสีย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ และหัวใจให้เป็นปกติ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
ดอก ใช้เป็นยาระบาย กระตุ้นการขับถ่าย ช่วยขับปัสสาวะ
ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
Puechkaset. 2017. “ลูกท้อ/ลูกพีช สรรพคุณ และการปลูกลูกท้อ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD/ (9 สิงหาคม 2560).
POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 25 July 2024.
TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), July 25, 2024.
WFO. 2024. Prunus domestica L. Published on the Internet, https://www.worldfloraonline.org/taxon/wfo-0000984349. Accessed on: 25 Jul 2024.