ชื่อไทย
บ๊วย
ชื่อสามัญ
Japanese apricot
ชื่อวิทยาศาสตร์

Prunus mume (Siebold) Siebold & Zucc.

สกุล
Prunus
สปีชีส์
mume
ชื่อพ้อง

Armeniaca mume Siebold

Armeniaca mume de Vriese

Prunopsis mume (Siebold) André

Prunopsis mume (Siebold) Andr‚

ชื่อวงศ์
ROSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ

ใบ ใบรูปไข่ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบกลม ขอบใบจักฟันเลื่อย

ดอก ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม

ผล ผลสดเมล็ดเดี่ยว กลมหรือรูปไข่ เมื่อผลแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และอาจจะมีแต้มสีแดงในบางพันธุ์ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ2.5-3.5 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำดี

บ๊วยต้องการช่วงสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับที่จะทำลายการพักตัวของตาซึ่งตาจะแตกออกมาในฤดูใบไม้ผลิ แต่บ๊วยไม่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นนานมากนัก

ถิ่นกำเนิด

จีน

การกระจายพันธุ์

 

จีน ญี่ปุ่น ลาว เวียดนาม เกาหลี ไต้หวัน ทิเบต

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นพืชไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามยังสถานที่ต่าง ๆ

ผลบ๊วย เมื่อยังดิบ สามารถนำไปดอง หรือแช่อิ่มรับประทานได้ หรือนำไปประกอบกับอาหารได้นานาชนิด

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “บ๊วย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2407 (7 กุมภาพันธ์ 2560).

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). “บ๊วย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/91 (7 กุมภาพันธ์ 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Prunus mume (Siebold) Siebold & Zucc.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:730000-1 (21 ตุลาคม 2560).

The Plant List. 2013. “ Prunus mume (Siebold) Siebold & Zucc.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (7 กุมภาพันธ์ 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้