ชื่อไทย
ผักเบี้ยใหญ่
ชื่อท้องถิ่น
ผักตาโค้ง (นครราชสีมา)/ ผักเบี้ยดอกเหลือง ผักเบี้ยใหญ่ (กลาง)/ ผักอีหลู(แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Common garden purslane
ชื่อวิทยาศาสตร์

Portulaca oleracea L.

สกุล
Portulaca
ชื่อพ้อง

Portulaca consanguinea Schltdl.

Portulaca fosbergii Poelln.

Portulaca intermedia Link ex Schltdl.

Portulaca latifolia Hornem.

Portulaca marginata Kunth

ชื่อวงศ์
PORTULACACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้เลื้อยอายุหลายปี ทุกส่วนอวบน้ำ ลำต้นสีม่วงแดงทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ยอดชูตั้ง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปลิ่ม รูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.0 ซม. และยาวประมาณ 2-4 ซม. แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านหลังใบเป็นสีเขียวแก่ ส่วนท้องใบเป็นสีแดงเข้ม ก้านใบสั้น

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือบางทีก็ออกเป็นช่อ แต่จะไม่มีก้านดอก ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองสด โดยทั่วไปมักออกเป็นกลุ่มประมาณ 3-5 ดอก กลีบเลี้ยงดอกมี 4-5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กซ้อนกันเป็นคู่ ๆ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองสด แต่ละกลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือหัวใจคว่ำลง ปลายกลีบดอกมีรอยเว้าเข้า

ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมหรือรูปรี เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลแล้วแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมหรือรูปไต สีดำหรือสีเทาดำเป็นเงา บนเปลือกเมล็ดมีจุดกระ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ มักขึ้นบริเวณชายฝั่งริมน้ำที่โล่ง ดินทราย ที่ชื้นแฉะ ที่รกร้างทั่วไป หรือพบขึ้นเป็นวัชพืชตามริมถนน ข้างทางเดิน

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป แอฟริกา และเอเชียเขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผักเบี้ยใหญ่ มีโอเมก้า 3 สูงมากกว่าน้ำมันปลาเสียอีก ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ อีกทั้ง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน

ใบ : แก้ไอแห้ง แก้ขัดเบา เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ ตำพอกหรือทาแก้แผลอักเสบบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวงทวารปวดบวม

ทั้งต้น : แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้แผลเน่าเปื่อยเป็นหนองเรื้อรัง แก้เหงือกบวม แก้เจ็บคอ เลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยห้ามเลือด

เมล็ด : ใช้ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับปัสสาวะได้

แหล่งอ้างอิง

FloraFinder. “Portulaca oleracea”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.florafinder.com/Species/Portulaca_oleracea.php (8 สิงหาคม 2560).

Flora of Pakistan. “Portulaca oleracea”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=5&taxon_id=200007020 (8 สิงหาคม 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Portulaca oleracea L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:323270-2 (8 สิงหาคม 2560).

RooNgee. 2016. “ถอนทิ้งทำไม..! พืชชนิดนี้ไม่ใช่วัชพืช เพราะมันมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก!”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://roongee.com/2017/09/10/stop-weeding-portulaca-oleracea-l/ (8 สิงหาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Portulaca oleracea L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2566490 (8 สิงหาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้