ชื่อไทย
เล็บครุฑตีนตะพาบยักษ์
ชื่อท้องถิ่น
เกล็ดปลากะโห้ ครุฑด่าง เบญกานี (กทม.)
ชื่อสามัญ
<p>Shield Aralia</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Polyscias scutellaria (Burm.f.) Fosberg

สกุล
Polyscias
ชื่อพ้อง

Aralia rotunda W.Bull

Aralia rotundifolia hort. ex Truff.

Aralia cochleata Lam.

Crassula scutellaria Burm.f.

Hedera cochleata (Lam.) Sweet

ชื่อวงศ์
ARALIACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นพันธุ์เล็บครุฑที่มีลำต้นสูง ทรงพุ่มใหญ่ สูงได้ประมาณ 2-3 ม. ลำต้นอ่อนมีสีเขียวอมเทา เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา

ใบ ก้านใบมีใบย่อย 3 ใบ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ขอบด่างขาวเล็กน้อย ขนาดใบประมาณ 8-10 ซม. ใบรูปรีเกือบกลมหรือรูปไต ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย

ดอก ดอกออกเป็นช่อ สีขาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในเกาะมาลูกู เกาะโซโลมอน นิวกินี เกาะซานตาครูซ และวานูอาตู

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - อินโดนีเซีย ไปยังนิวกินี และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ใบประกอบน้ำมันหอมระเหยในกลุ่มของสารเทอร์พีน (terpene) หลายชนิด

ใบ ตำพอกแก้แผลอักเสบ และขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม ป้องกันผมร่วง ศีรษะล้านได้ ใบมีกลิ่นหอมใช้สำหรับแต่งกลิ่นน้ำหอม

ราก เป็นยาขับปัสสาวะ

แหล่งอ้างอิง

สมุนไพร ดอทคอม. 2559. “ครุฑกระทง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.samunpri.com/ครุฑกระทง/ (23 ตุลาคม 2560).

Kew Science,The Royal Botanic Gardens. “Polyscias scutellaria (Burm.f.) Fosberg”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:91817-1 (23 ตุลาคม 2560).

Puechkaset. “เล็บครุฑ สรรพคุณ และการปลูกเล็บครุฑ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/เล็บครุฑ/ (23 ตุลาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Polyscias scutellaria (Burm.f.) Fosberg”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-162576 (23 ตุลาคม 2560).

Useful Tropical Plants. 2014. “Polyscias scutellaria”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Polyscias+scutellaria (23 ตุลาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้