ชื่อไทย
กระเจี๊ยบมอญ
ชื่อท้องถิ่น
กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ (ภาคกลาง)/ มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Gumbo/ Lady's finger/ Okra
ชื่อวิทยาศาสตร์

Abelmoschus esculentus (L.) Moench

สกุล
Abelmoschus
ชื่อพ้อง

Abelmoschus bammia Webb

Abelmoschus longifolius (Willd.) Kostel.

Abelmoschus officinalis (DC.) Endl.

Abelmoschus praecox Sickenb.

Abelmoschus tuberculatus Pal & Singh

ชื่อวงศ์
MALVACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ผักผล/ผักใบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกลำต้นบาง มีสีขาวนวล แตกกิ่งน้อย กิ่งมีขนาดสั้น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น 

ดอก ดอกมีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก 

ผล ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก 

เมล็ด เมล็ดคล้ายรูปไต ขนาด 3-6 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด

ต้นกำเนิดที่ถูกต้องของกระเจี๊ยบไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คิดว่ามาจากแอฟริกาซึ่งได้รับการปลูกเป็นพืชผลมานานหลายศตวรรษ

และหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามันถูกปลูกในประเทศอียิปต์เมื่อนานมาแล้วประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ใน ทวีปอเมริกา แอฟริกา ยุโรป และเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

นำมาใช้ประกอบอาหารในเมนูต่างๆ อาทิ ซุป สลัด ฝักอ่อนสดใช้รับประทานคู่กับน้ำพริกหรืออาหารอื่น ฝักอ่องนแปรรูปเป็นกระเจี๊ยบแห้ง กระเจี๊ยบผง

ขนบนฝักเมล็ดอาจเป็นสารระคายเคืองต่อคนบางคนและควรใส่ถุงมือเมื่อเก็บเกี่ยว ขนเหล่านี้สามารถถอดออกได้ง่ายโดยการล้า

แหล่งอ้างอิง

Plants For A Future. 2012.  “Abelmoschus esculentus - (L.) Moench”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://pfaf.org/user/Plant.aspx?LatinName=Abelmoschus+esculentus (17 มกราคม 2560).

Puechkaset. “กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณ และการปลูกกระเจี๊ยบเขียว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กระเจี๊ยบเขียว/ (17 มกราคม 2560).

The Plant List. 2013. “Abelmoschus esculentus (L.) Moench”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org (17 มกราคม 2560).

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Abelmoschus esculentus (L.)”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:558006-1 (17 มกราคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้