ชื่อไทย
ลั่นทมขาว
ชื่อท้องถิ่น
ลีลาวดี (กลาง)
ชื่อสามัญ
<p>Singapore plumeria/ Temple tree</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Plumeria obtusa L.

สกุล
Plumeria
สปีชีส์
obtusa
ชื่อพ้อง

Plumeria obtusa var. typica Woodson

Plumeria alba var. jacquiniana A. DC.

Plumeria hypoleuca var. angustifolia Gasp.

Plumeria revolutifolia Stokes

Plumeria apiculata Urb.

Plumeria bahamensis Urb.

Plumeria barahonensis Urb.

Plumeria bicolor Seem.

Plumeria multiflora Standl.

Plumeria ostenfeldii Urb. 

Plumeria parvifolia Donn

Plumeria tenorei Gazparr.

ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 3-8 ม. ทุกส่วนมีอย่างสีขาว เปลือกเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่ตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-32 ซม. ปลายมนหรือมนกลม โคนมนหรือรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยง เป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย 

ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว คอหลอดกลีบดอกมีแต้มสีเหลือง กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น  ปลายหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับหรือรูปค่อนข้างกลม คอหลอดกลีบดอกด้านในมีขน เกสรเพสผู้ 5 เกสร ติดในหลอดกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 2 รังไข่ แยกกัน รูปไข่ เกลี้ยง

ผล แบบผลแห้งแตกแนวเดียว ออกเป็นคู่ รูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม

เมล็ด จำนวนมาก ปลายด้านหนึ่งมีปีกบาง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

  ลั่นทมขาวเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีการนำมาปลูกประดับทั่วไป สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อได้รับแสงเต็มที่ ทนแล้ง แต่ไม่ทนน้ำท่วม

 

ถิ่นกำเนิด

เกาะในแถบทะเลแคริเบียน 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ปักชำ หรือเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ฝัก ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร

ราก มีรสขมเมา เป็นยาถ่าย แก้โรคหนองใน โรคไข้ข้ออักเสบ ขับลม

เปลือกต้น ใช้ผสมน้ำมะพร้าว น้ำมันเนย และข้าว แก้โรคท้องเดิน ถ่ายท้อง ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย

 

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ลั่นทมขาว”. [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-guide/frangipani/ (24 ตุลาคม 2559).

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 13 september 2022.

Puechkaset.com. 2559. “ลั่นทมขาว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), September 13, 2022.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้