Phyllanthus emblica L.
Cicca emblica (L.) Kurz
Diasperus emblica (L.) Kuntze
Emblica officinalis Gaertn.
Cicca macrocarpa Kurz
Diasperus pomifer (Hook. f.) Kuntze
Dichelactina nodicaulis Hance
Emblica arborea Raf.
Phyllanthus glomeratus Roxb. ex Benth.
Phyllanthus mairei H. Lév.
Phyllanthus mimosifolius Salisb.
Phyllanthus pomifer Hook. f.
Phyllanthus taxifolius D. Don
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-12 ม. อาจสูงได้ถึง 25 ม. เปลือกล่อนเป็นแผ่นคล้ายตะแบก สีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา ต้นที่มีอายุมากลำต้นมักโป่งนูน เป็นปมตะปุ่มตะป่ำ เปลือกชในสีชมพูหรือสีน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน กว้าง 2-4 มม. ยาว 0.8-2 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนมนหรือรูปหัวใจเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบข้างละ 4-6 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ใบอ่อนสีชมพู มีขนละเอียด ใบแก่เกลี้ยง ก้านใบสั้นมาก หูใบรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก
ดอก แยกเพศร่วมต้น ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ แต่ละกระจุกมีดอกเพศผู้หลายดอกและดอกเพศเมีย 1-2 ดอก สีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองนวล ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ก้านดอกสั้นกว่า 0.3 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.4-1 มม. ยาว 1-2 มม. เป็นแอ่ง เกสรเพศผู้ 3 อัน เชื่อมติดกันเป็นแท่ง ยาว 0.5-1 มม. อับเรณู 2 อัน หันออกด้านนอก จานฐานดอกมีต่อมรูปกระบองสีเขียวอ่อน 6 ต่อม ดอกเพศเมียก้านดอกยาวประมาณ 0.6 มม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานหรือรูปช้อน กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 2-3 มม. จานฐานดอกรูปวงแหวน เกสรเพศเมียรังไข่สูง 1.5 มม. มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก แต่ละแฉกแยกเป็น 2 แฉก
ผล แบบมีเนื้อคล้ายผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. มีเส้นสีอ่อนตามยาว 6 เส้น ผลอ่อนสีเขียว สุกสีเขียวอ่อนอมเหลือง ผิวใส มีรสฝาดอมเปรี้ยว เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มีสันตามยาว เมล็ดสีน้ำตาลแดง กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 5 มม. มี 6 เมล็ด
พบตามป่าชายหาด ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังผสมสน และป่าดิบเขาต่ำ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 10-1,500 ม.
ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ จีน เมียนมา ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา เกาะชวา หมู่เกาะซุนดาน้อย) และไต้หวัน
ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ จีน เมียนมา ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ราก นำมาคั้นน้ำแก้พิษตะขาบกัด หรือต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน แก้พิษไข้ ฟอกโลหิต แก้ท้องเสีย
เปลือกลำต้น นำมาตำพอกเป็นยาห้ามเลือด สมานแผล แก้ฟกช้ำที่เกิดจากการหกล้มหรือกระแทก
ใบ ต้มอาบเป็นยาลดไข้ รักษาอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ผิวหนังเป็นแผล หรือดื่มแก้บิดแบคทีเรีย ฝีคัณฑสูตร แก้โรคความดันโลหิตสูง
ดอก เป็นยาเย็น มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
ผล มีสรรพคุณแก้ไอ แก้ไข้ ละลายเสมหะ ช่วยให้ชุ่มคอ รักษาอาการคอแห้ง แก้กระหายน้ำ แก้หวัด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ
เนื้อจากผลแห้ง ใช้เป็นยาสมานแผลภายนอก รักษาอาการท้องเสีย ริดสีดวงทวาร แก้ไอ รักษาโรคดีซ่าน นำไปหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ดื่มรักษาอาการอาหารไม่ย่อย หรือใช้ทำแชมพูสระผม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย 1. ห้างส่วนจำกัด งานพิมพ์, กรุงเทพฯ.
ชูศรี ไตรสนธิ และปริทรรศน์ ไตรสนธิ. 2547. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หจก. นันทกานต์กราฟฟิค การพิมพ์, เชียงใหม่.
มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.
สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน, ยุทธการ จำลองราช, รุ่งสุริยา บัวสาลี และไพรัช ระยางกูล. 2559. ต้นไม้ ป่า ห้วยขาแข้ง. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติม กรุงเทพฯ.
POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 27 May 2024.
TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), May 27, 2024.