ชื่อไทย
มาลัยทอง
ชื่อท้องถิ่น
มาลัยนงนุช (กลาง)
ชื่อสามัญ
Wolfei’s vine
ชื่อวิทยาศาสตร์

Petraeovitex wolfei J. Sinclair

สกุล
Petraeovitex
สปีชีส์
wolfei
ชื่อพ้อง

Petraeovitex bambusetorum f. simplicifolia Munir

ชื่อวงศ์
VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เลื้อยได้ไกล 2-5 ม. มีมือเกาะ กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม

ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย ออกตรงข้าม รูปใบหอกแกมรูปรี กว้าง 6-7 ซม. ยาว 14-16 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบจักซี่ฟัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 8 ซม. โคนก้านอ้วนพอง

ดอก ออกเป็นช่อตามปลายยอด ช่อดอกยาว 15-45 เซนติเมตร กลีบประดับสีเหลือง แตกช่อย่อย ดอกย่อยเป็นหลอด กลีบเลี้ยง 5 กลีบรูปขอบขนาน ปลายแหลม กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบซ้อนทับกัน ด้านบน 3 กลีบ ด้านล่าง 2 กลีบ มีขนปกคลุม

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ภาคใต้ตามป่าไม่ผลัดใบ ของประเทศไทย

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

บอร์เนียว คาบสมุทรมลายู สุมาตรา ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะนิวกินี กลุ่มเกาะบิสมาร์ก ออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกเป็นซุ้มเลื้อย ประดับตกแต่งสถานที่

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “มาลัยทอง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/golden-wreath/ (30 กรกฎาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Petraeovitex bambusetorum King & Gamble”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-150838 (30 กรกฎาคม 2560).

Wikipedia. 2016. “Petraeovitex”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Petraeovitex (30 กรกฎาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้