ชื่อไทย
ข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105
ชื่อวิทยาศาสตร์

Oryza sativa L.

สกุล
Oryza
สปีชีส์
sativa
ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
POACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียวจาง

ใบ ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง

ผล เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี

เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.5 x 1.9 มม.

เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.8 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ทนแล้งได้พอสมควร ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด 

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

ใช้รับประทานเป็นอาหารหลัก ข้าวหอมมะลิมีกลิ่นหอมในตนเอง เป็นกลิ่นของธรรมชาติอันบริสุทธิ์ กลิ่นเหมือนใบเตย เวลาเคี้ยวเมล็ดข้าวจะนุ่มหอมอร่อยมากกว่าข้าวอื่นๆ ลักษณะของข้าวหอมมะลิไทยจะมีเมล็ดเรียวยาวสวยงาม สีขาวหรือครีมอ่อนๆ

มีคุณค่าจากโปรตีน เส้นใยอาหาร ป้องกันท้องผูก ไนอะซีนรักษาผิวหนังและระบบประสาท ธาตุเหล็กและทองแดงช่วงสร้างเม็ดโลหิต ป้องกันโลหิตจางเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ

หมายเหตุ

เกษตรกรทั่วไปเรียกว่า ขาวดอกมะลิ 105 ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 จนได้ข้าวพันธุ์ กข 15 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวรับรองของไทย. “ข้าวดอกมะลิ 105.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.brrd.in.th/rvdb/index.php?option=com_content&view=article&id=28:khao-dawk-mali-105&catid=30:photosensitive-lowland-rice&Itemid=53 (6 มีนาคม 2560)

Ptikumpo. “Oryza sativa.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ptikumpo.wordpress.com/2011/01/25/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5/ (11 สิงหาคม 2560)

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้