ชื่อไทย
พญาสัตบรรณ
ชื่อท้องถิ่น
พญาสัตบรรณ ตีนเป็ด (ภาคกลาง)/กะโน้ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี)/ ตีนเป็ดดำ (นราธิวาส)/ บะซา, ปูลา, ปูแล (ปัตตานี, มาเลย์-ยะลา)/ ยางขาว (ลำปาง)/ สัตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี)/ หัสบรรณ (กาญจนบุรี)
ชื่อสามัญ
Devil tree/ White cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์

Alstonia scholaris (L.) R. Br.

สกุล
Alstonia 
สปีชีส์
scholaris 
ชื่อพ้อง

Echites scholaris L.

ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 25-40 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นชัน เปลือกนอกสีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา แตกเป็นสะเก็ดไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลืองมีเส้นสีแดงตามยาว

ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง แต่ละวงมี 5-10 ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 1-8 ซม. ยาว 5-32 ซม. โคนใบสอบรูปลิ่ม ปลายเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีน้ำตาลอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม เส้นใบขนานกัน 20-40 คู่ ก้านใบ ยาว 0.7-1.8 ซม.

ดอก ขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีเขียวออกขาวหรือเขียวอมเหลือง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก

ผล สีเขียวมัน ออกเป็นคู่ห้อยลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มม. ยาว 21-56 ซม. ผลแก่แตกตามรอยประสานเป็น 2 แฉก

เมล็ด รูปขอบขนาน ยาว 5-7 มม. มีขนสีน้ำตาลทองยาวอ่อนนุ่มติดกันเป็นกระจุกที่ปลายทั้ง 2 ด้าน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ป่าดิบชื้น และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150-1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทราย ทนแล้ง ทนลม

ถิ่นกำเนิด

แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - จีน อนุทวีปอินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไปยังออสเตรเลีย และหมู่เกาะโซโลมอน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตุลาคม-ธันวาคม
ระยะเวลาการติดผล
มกราคม-มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

ราก ขับผายลมในลำไส้ แก้ไข้ แก้น้ำดีผิดปกติ รักษาโรคมะเร็ง

เปลือก ช่วยให้เจริญอาหาร ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไข้ รักษาโรคมาลาเรีย ยาสมานลำไส้ ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ช่วยขับระดูของสตรี ช่วยขับน้ำนม รักษาผดผื่นคัน

ใบ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้ รักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ดับพิษ

ยาง แก้อาการปวดหู แก้อาการปวดฟัน ช่วยบำรุงกระเพาะ ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ

ดอก ช่วยแก้โลหิตพิการ ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน

เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน ใช้ทำโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของบ้าน

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Devil tree , White cheesewood - Devil tree, Devil bark, White cheese wood, Black board tree, Milkwood”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=84&name (3 มิถุนายน 2560).

ThaiHerbal.org. 2015. “พญาสัตบรรณ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1478 (29 ตุลาคม 2559).

The Plant List. 2013. “Alstonia scholaris (L.) R. Br.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50185720 (3 มิถุนายน 2560).

Useful Tropical Plants. 2017. “Alstonia scholaris”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Alstonia+scholaris (3 มิถุนายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้