ชื่อไทย
ขิงแดง
ชื่อสามัญ
Red Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์

Alpinia purpurata (Vieill.) K.Schum.

สกุล
Alpinia
ชื่อพ้อง

Alpinia grandis K.Schum.

Guillainia novo-ebudica F.Muell.

Guillainia purpurata Vieill.

Languas purpurata (Vieill.) Kaneh.

ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 1-2 ม. มีลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อยอยู่ใต้ดิน ลำต้นเทียมขึ้นอัดแน่นเป็นกอใหญ่

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน มีเส้นใบขนานกัน

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด แต่ละช่อมีใบประดับสีแดงซ้อนกัน ดอกรูปกรวย ออกจากซอกกาบรองดอก ดอกที่ติดบนช่อสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ เรียกว่า ตะเกียง

ผล แห้งแตก รูปทรงกลมถึงรูปไข่

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป ชอบอากาศร้อนชื้นต้องการแสงไม่มาก เป็นพืชที่ปลูกในร่มต้องการความชื้นสูงขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย

ถิ่นกำเนิด

หมู่เกาะแปซิฟิกใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ตะวันออกอินโดนีเซีย ถึงนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน นิวแคลิโดเนีย และวานูอาตู

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ และใช้ตะเกียง

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม นำไปปักแจกันในอุณหภูมิปกติ อยู่ได้นาน 4-5 วัน เหมาะปลูกมุมอาคาร บังกำแพง ริมลำธาร น้ำตก ปลูกริมถนน ทางเดิน สระว่ายน้ำ ริมทะเล

เหง้า ขับลม แก้ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ ช่วยย่อยอาหาร

ราก แก้กามตายด้าน บำรุงกำหนัด

หมายเหตุ

เป็นดอกไม้ประจำชาติของซามัว 

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชสวน. 2560. “ขิงแดง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://hort.ezathai.org/?p=210 (2 มิถุนายน 2560).

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2558. “ขิงแดง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/117 (2 มิถุนายน 2560).

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ขิงแดง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/standard/red-ginger/ (2 มิถุนายน 2560).

National Parks Board. 2013. “Alpinia purpurata”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=1645 (2 มิถุนายน 2560).

The Plant List. 2013. “Alpinia purpurata (Vieill.) K.Schum.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-218995 (2 มิถุนายน 2560).

Useful Tropical Plants. 2017. “Alpinia purpurata”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Alpinia+purpurata (2 มิถุนายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้