ชื่อไทย
กล้วยตานีดำ
ชื่อสามัญ
Kluai Tani Dam
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa balbisiana Colla

ชื่อพ้อง

Musa martini Van Geert

Musa elata Nakai

Musa pruinosa (King ex Baker) Burkill

Musa rosacea Jacq.

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 4.5-5.0 ม. เส้นรอบวงเฉลี่ย 86.5 ซม. ลำต้นสีเขียวอ่อน มีปื้นสีน้ำตาลดำมากประมาณ 90% ของลำต้น

ใบ สีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวปนน้ำตาล ไม่มีร่อง บริเวณฐานใบไม่เท่ากัน แบบมนทั้งสองด้าน

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ลักษณะของใบประดับรูปไข่ป้อม ปลายเรียว และแตก  ใบประดับด้านนอกสีม่วงอมเทา มีนวลหนา ใบประดับบริเวณด้านในโคนมีสีเหลือง ปลายสีแดงอมม่วงสม่ำเสมอ ใบประดับไม่ม้วนและไม่หลุดร่วง การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก สีดอกตัวเมียสีเหลือง และตัวผู้ชมพูอมแดง มีกลีบรวมเดียวสีขาว กลีบรวมใหญ่ มีสีขาวและสีชมพูเข้มด้านฐานกลีบ

ผล เครือมีขนาดใหญ่ มีจำนวนหวีประมาณ 10-11 หวี เรียงซ้อนกันเป็นระเบียบไม่บิดวน ผลสีเขียวเข้ม รูปทรงกระบอกคล้ายกล้วยน้ำว้า ก้านผลสั้น ผลสุกสีเหลืองเข้ม เนื้อในสีขาว มีรสหวาน มีเมล็ดมาก

เมล็ด สีดำ เปลือกเมล็ดหนาแข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ชอบดินเหนียวปนทราย

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ไม่นิยมเพาะด้วยเมล็ด เนื่องจากโตช้า

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

ผล ผลดิบ ที่เมล็ดยังไม่แก่หรือแข็งปรุงเป็นส้มตำ เรียกว่า "ตำกล้วยตานี" ผลสุกกินสดได้ หยวก ปลี ทำส้มตำได้เช่นกัน หรือเอาไปแกงใส่ไก่ ปลา ผัด และลาบ รสชาติอร่อย 

ใบ สามารถนำไปห่อขนม หรือทำบายศรี ในพิธีการต่าง ๆ

สรรพคุณทางยา ใบแห้งต้มน้ำอาบรวมกับใบมะขามแก้ผดผื่นคัน ผลอ่อนฝานเป็นแว่นๆ ตากแห้งบดกินแก้ท้องเสีย ยางใช้ ห้ามเลือด การใช้สอยอื่นๆ กาบลำต้นใช้ทำเชือก ต้นแกะสลักลวดลาย

หมายเหตุ

ผลสุกของ "กล้วยตานีดำ" หรือ กล้วยตานีทั่วไปจะมีรสหวานหอม แต่ไม่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีเมล็ดมากนั่นเอง ติดเครือและผลปีละครั้ง

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. “กล้วยตานีดำ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thairath.co.th/content/125851 (25 เมษายน 2560).

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยตานีดำ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618360536343609363736043635.html (12 มิถุนายน 2560).

The Plant List. 2013. “Musa balbisiana Colla”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254762 (25 เมษายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้