ชื่อไทย
กล้วยตานีด่าง
ชื่อสามัญ
Kluai Tani Dang
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa balbisiana Colla

ชื่อพ้อง

Musa martini Van Geert

Musa elata Nakai

Musa pruinosa (King ex Baker) Burkill

Musa rosacea Jacq.

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 4 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีเส้นริ้วด่างขาว มีปื้นดำที่คอใบเล็กน้อย มีนวลชัดเจน กาบด้านใน สีเขียว ต้นอ่อนลำต้นสีเขียวเข้ม ไม่มีประที่ลำต้น

ใบ ก้านใบปิด ก้านใบสีเขียวเข้ม มีครีบก้านใบสีเขียวขอบดำ ใบกว้างโค้งลง โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลายก้านช่อดอกโค้งลง ใบประดับกว้าง ปลายมน ไม่ม้วนงอ ใบประดับด้านนอกสีน้ำตาลอมแดงมีไขเยอะ ด้านในโคนใบสีเหลืองซีด ด้านในปลายใบสีแดงอมชมพู ใบประดับเรียงเหลื่อมซ้อนกันชัดเจน ก้านดอกยาว

ผล ทรงเครือขนานกับพื้นดิน ผลขนาดเล็กสั้นป้อมมีเหลี่ยมชัดเจน ปลายผลมีจุกยาวชัดเจน ผลเรียงเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 7-8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 8-10 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้มมีริ้วด่างขาว เมื่อสุกเนื้อผลสีขาว มีเมล็ดมาก

เมล็ด สีดำ ผนังเมล็ดหนาและแข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ชอบดินเหนียวปนทราย

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

ใบของกล้วยตานีนั้นจะนิยมนำมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆเพราะใบกล้วยตานีนั้นมีใบที่ใหญ่และเหนียวไม่แตกง่าย

ส่วนปลีและหยวกกล้วยนั้น สามารถนำไปปรุงอาหารได้ เช่น นำไปใส่แกงหรือหมกใส่ไก่ได้ หรือจะ กินสดโดยใส่กับผัดไทยก็สามารถทำได้ ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมากสามารถนำมาตำทำเป็นตำกล้วยได้

ลำต้น หรือกาบตรงลำต้น สามารถนำมาทำเป็นเชือกใช้ทอผ้าได้

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa balbisiana Colla varigated กล้วยตานีด่าง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75904 (ุุ6 มีนาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Musa balbisiana Colla”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254762 (12 มิถุนายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้