ชื่อไทย
กล้วยเทพพนม
ชื่อสามัญ
Kluai Thepphanom
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (BBB) 'Thepphanom'

Variety

Thepphanom

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 ม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นเล็กน้อย หรือเกือบไม่มีเลย มีนวลสีขาวบางๆ ส่วนกาบด้านในเป็นสีชมพูหรือสีแดง

ใบ ชูตั้งขึ้นหรือเฉียงเล็กน้อย ก้านใบไม่มีร่องเหมือนก้านกล้วยทั่วไป เนื้อใบหนา หน้าใบสีเขียว หลังใบมีนวลสีขาว 

ดอก ก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ ใบประดับค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนใบประดับสีม่วงแดง ม้วนขึ้น มีนวลสีขาว ด้านล่างสีแดงซีด

ผล เครือหนึ่งจะมี 5-7 หวี หวีหนึ่งมี 15-20 ผล ผลเป็นเหลี่ยมคล้ายกล้วยตานีหรือกล้วยหักมุก เปลือกผลหนาติดกันตลอดทั้งหวี และทั้งผลแถวบนแถวล่าง เป็นเปลือกแผ่นเดียวกัน มีร่องแบ่งผลเป็นตอนๆ หรือเป็นพู ทำให้ดูเหมือนมือกำลังพนมคว่ำปลายนิ้วลง จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “กล้วยเทพนม” เนื้อสุกสีขาวนวลปนเหลืองอ่อน ไส้กลางสีส้ม ไม่มีเมล็ด รสชาติหวานหอมคล้ายกล้วยหักมุก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ชอบดินเหนียวปนทราย

ถิ่นกำเนิด

ประเทศฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ใบ ใช้ประโยชน์โดยเอาใบไปอังไฟพอนิ่มเช็ดให้สะอาดห่ออาหารสดมัดด้วยเชือกกาบกล้วยที่ฉีกเป็นเส้นๆ ดีมาก แต่ไม่นิยมห่อเพื่อปรุงอาหารให้สุกจะทำให้รสชาติของอาหารที่ห่อผิดเพี้ยน หรือไม่สามารถรับประทานได้

ผล รับประทานผลที่ทำให้สุก เช่น ปิ้ง เชื่อม

สมัยก่อนนิยมปลูกเพื่อกินผลสุก และแปรรูปทำกล้วยฉาบปิ้งไฟทั้งเปลือกเนื้อเหนียวนุ่มหวานหอมรับประทานได้คุณค่าทางโภชนาการเช่นกล้วยหักมุกทุกอย่าง

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. “กล้วยเทพพนม”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thairath.co.th/content/530835 (25 เมษายน 2560).

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยเทพนม”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836483607361436093617.html (9 มิถุนายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้