Musa (ABBB) 'Theppharot'
Theppharot
-
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้น มีปื้นดำปานกลาง ตรงโคนมีสีชมพู ด้านในสีเขียวอ่อน
ใบ โคนก้านใบสีเขียวอมชมพู มีร่องแคบ ไม่มีครีบ ก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกสีเขียว ไม่มีขน
ดอก ใบประดับรูปร่างค่อนข้างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวลมาก ด้านล่างสีซีด ใบประดับเรียงซ้อนกันลึก ช่อดอกมีแต่ดอกตัวเมียไม่มีดอกตัวผู้จึงไม่เห็นปลี เมื่อติดผล ปลีหลุดหายไป จึงเรียกว่า กล้วยปลีหาย
ผล ขนาดใหญ่กว่ากล้วยทิพรส ยาวได้ถึง 20 ซม. เครือหนึ่ง มี 2-3 หวี ก้านผลยาว
พบได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่ไม่นิยมปลูกมากนัก
ประเทศไทย
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
เนื้อของกล้วยในกลุ่มนี้จะมีแป้งมาก โดยเฉพาะผลดิบ ผลที่สุกบางชนิดรับประทานสดได้ แต่บางชนิดอาจจะฝาด จึงนิยมนำมาทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน จะทำให้รสอร่อยขึ้น
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “การจำแนกกลุ่มของกล้วย”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-infodetail04.html (8 มิถุนายน 2560).
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กล้วยเทพรส”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2892 (8 มิถุนายน 2560).
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa Xparadisiaca’ ‘Kluai Theparod’ กล้วยทิพรส กล้วยสิ้นปลี กล้วยปลีหาย กล้วยสังกิโว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75924 (8 มิถุนายน 2560).
ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยเทพรส”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836483607361436193626.html (8 มิถุนายน 2560).