ชื่อไทย
กล้วยตีบคำ
ชื่อสามัญ
Kluai Tip Kam
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Tip Kam'

Variety

Tip Kam

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูณย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพู มีประสีน้ำตาลหนา ตรงโคนมีสีเขียวอมชมพู กาบลำต้นด้านในสีขาวปนชมพู มีไขมาก

ใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.0-1.5 ม. ร่องก้านใบตื้น ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 25-35 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ท้องใบมีนวลสีขาว หน้าใบสีเขียวสดเป็นมัน

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายมน และม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมเทา มีนวลปานกลาง ด้านล่างสีแดง การจัดเรียงของใบประดับซ้อนกันไม่มาก เครือห้อยลง

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยหักมุกและกล้วยส้ม มีเหลี่ยม มีจุกใหญ่แต่สั้นกว่ากล้วยหักมุก ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม เนื้อสีเหลืองอมส้ม มีรสหวาน ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นทั่วไปตามป่าธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรเท่านั้น

ตำรายาโบราณระบุว่า รากหรือเหง้า อยู่ในพิกัด “ตรีอมฤต” นำไปต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อุจจาระเป็นเลือดเป็นมูก รากหรือเหง้า ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ได้สารพัดโรค ใบแห้ง ใช้มวนกับยาเส้นที่ผสมสมุนไพรอื่นสูบแก้ริดสีดวงจมูก ใบแห้ง ยังเอาไปต้มน้ำอาบเป็นยาแก้ผื่นคันตามตัวตามผิวหนังได้ด้วย ยาพื้นบ้านทางภาคเหนือเอาใบแห้งผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ซางปากเปื่อยได้ ใบสด ของ “กล้วยตีบ” ตำพอละเอียด ห่อผ้าขาวบางอังไฟอ่อนๆ เป็นลูกประคบแก้ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อได้ดีระดับหนึ่ง

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. ““กล้วยตีบ” กับสรรพคุณน่ารู้”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/543150 (9 มิถุนายน 2560).

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa Xparadisiaca ‘Kluai Tip Noy’ กล้วยตีบ กล้วยตีบมุกดาหาร”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=76000 (9 มิถุนายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้