ชื่อไทย
กล้วยกุ้งเขียว
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยทองเสา กล้วยทุเรียน กล้วยเรียน (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
Kluai Kuug Khiao/ Mautaut Red Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Kuug Khiao'

Variety

Kuug Khiao

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมชมพู มีปื้นสีดำปานกลาง มีไขปานกลาง ด้านในสีเขียวอมเหลือง

ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีครีบ ขอบครีบสีชมพูเส้นกลางใบสีเขียวอมชมพู ก้านใบกางออกด้านข้าง

ดอก ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับ:ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลมและม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด

ผล เครือหนึ่งมี 5-6 หวี หวีหนึ่งมี 12-14 ผล ขนาดของผลกว้าง 3-4 ซม. ยาว 12-14 ซม. เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง กลิ่นหอม รสหวาน รายละเอียดอื่นๆ:มีลักษณะคล้ายกล้วยนากเพราะเป็นต้นที่มีการกลายพันธุ์จากกล้วยนากซึ่งมีสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ผลสุกสามารถรับประทานเป็นผลไม้ได้ และสามารถปลูกเป็นพืชประดับภูมิทัศน์

หมายเหตุ

กลายพันธุ์มาจากกล้วยนาก

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Kung Khieo’ กล้วยกุ้งเขียว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75969 (24 เมษายน 2560).

Baanjomyut.com. 2543. “กล้วยกุ้งเขียว”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-5/agricultural_knowledge/perennial_crops/25_1.html(24 เมษายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้