ชื่อไทย
กล้วยไข่สวนผึ้ง
ชื่อสามัญ
Kluai Khai Suan Phueng
ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Khai Suan Phueng'

Variety

Khai Suan Phueng

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์
MUSACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นมีลักษณะคล้ายกล้วยไข่กำแพงเพชร แต่ต้นใหญ่กว่า กาบของลำต้นที่อยู่ด้านนอกนั้น เป็นสีเขียวปนเหลือง ด้านในเป็นสีชมพูอมแดง

ใบ ส่วนตัวใบนั้นมีสีเขียวอมเหลือง

ดอก มีร่องกว้างดอกของต้นกล้วยไข่นั้นก็จะมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ก้านช่อดอกนั้นจะมีขนอ่อน

ผล จำนวนหวีมีมากกว่ากล้วยไข่กำแพงเพรช หวีเป็นระเบียบกว่าและผลดกกว่า แต่เล็กกว่ากล้วยไข่

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผลดิบแปรรูปได้ คล้ายกล้วยไข่ ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้และแปรรูปเช่นเดียวกัน

หมายเหตุ

หากปลูกกล้วยไข่สวนผึ้งในที่ร้อนแล้ง จะให้ผลผลิตไม่ดี

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน. 2560. “กล้วยไข่สวนผึ้ง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.life.ac.th/librapage/Digital%20Library/Library%20of%20LIFE/html/banana/kaisuanpheang.pdf (23 เมษายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้