ชื่อไทย
หม่อน
ชื่อสามัญ
<p>Mulberry tree</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Morus alba L.

สกุล
Morus
สปีชีส์
alba 
ชื่อพ้อง

Morus alba var. arabica Bureau

Morus alba var. atropurpurea (Roxb.) Bureau

Morus alba var. chartacea Risso

Morus alba var. colombassa Ser.

Morus alpina Raf.

Morus arabica (Bureau) Koidz.

Morus bullata Balb. ex Loudon

Morus cucullata Bonaf.

Morus dulcis Royle

Morus nervosa Loudon

ชื่อวงศ์
MORACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก 

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 ซม. ยาว 12-16 ซม. ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 ซม.

ดอก ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน

ผล ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบทั่วไปในป่าดิบชื้น

ถิ่นกำเนิด

ประเทศจีน

การกระจายพันธุ์

ทั่วโลก

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ปักชำ

ตอนกิ่ง

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ยอดอ่อน รับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือรับประทานเป็นผักสด

ใบ ใช้เลี้ยงหนอนไหม นำไปให้วัวและควายกินทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอเป็นยาขับเหงื่อ หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตาฝ้าฟาง

ราก ขับพยาธิ และเป็นยาสมาน ตากแห้งต้มผสมน้ำผึ้ง ยานี้จะมีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก กิ่งอ่อน ใบอ่อน แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ

ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้หรือนำไปทำน้ำผลไม้ ทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ บำรุงไต แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการวัณโรคปอด โรคปวดข้อ

เปลือกต้น เป็นยาถ่ายและยาขับพยาธิ

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  2559.  ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย 1.  ห้างส่วนจำกัด งานพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “หม่อน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=125 (13 มิถุนายน 2560).

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ.

Flora of China. “Morus alba”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200006379
(13 มิถุนายน 2560).

The Plant List. 2013. “Morus alba L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2501381 (13 มิถุนายน 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้