ชื่อไทย
มะรุม
ชื่อท้องถิ่น
กาแน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ ผักเนื้อไก่ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)/ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)/ มะรุม (ภาคกลาง, ภาคใต้)/ เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Horse radish tree
ชื่อวิทยาศาสตร์

Moringa oleifera Lam.

สกุล
Moringa
ชื่อพ้อง

Guilandina moringa L.

Hyperanthera moringa (L.) Vahl

Moringa zeylanica Burmann

ชื่อวงศ์
MORINGACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 15-20 ม. เปลือกค่อนข้างเรียบ มีรอยย่น แตกเป็นร่อง เนื้อไม้อ่อน

ใบ แบบขนนก 3 ชั้น ยาว 25-60 ซม. ใบย่อย 4-6 คู่ รูปไข่ รูปรี หรือขอบขนาน กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1-2 ซม. มีขนประปราย โคนใบกลมหรือรูปลิ่ม ปลายใบกลมถึงเว้าตื้น ก้านใบย่อย เรียวบาง 1-2 มม.

ดอก ออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวแกมเหลืองจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ดอกขนาดประมาณ 1 นิ้ว 

ผล เป็นฝักทรงกระบอกกลม ยาว 40-50 ซม. ฝักเป็นคอดตามแนวเมล็ด มีสันตามยาว ฝักแตกเมื่อแห้ง แตกเป็น 3 ซีก 

เมล็ด ทรงกลม มีปีก 3 ปีก เมล็ดมีจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ต้องการแสงแดดและน้ำปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม บังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอชีย แอฟริกา และอเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
มิถุนายน-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ใบสด ใบมีรสเฝื่อน มีวิตามินซีและเอมาก ใช้เป็นยากินแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเยื่อเมือกอักเสบ หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล 

เปลือกต้น มีรสร้อนเฝื่อน ร้อน ใช้ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมเรอ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง คุมธาตุอ่อนๆ แก้ลม แก้ฝี แก้พยาธิ เป็นยาอายุวัฒนะ ต้มเป็นกระสายยาแก้หอบหืด 

เปลือกสด ตำอม ถอนพิษเมาสุรา 

ฝัก มีรสหวานเย็น ดับพิษถอนไข้ แก้ปัสสาวะไม่ปกติ

 ราก ทำให้ความดันเลือดสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว นำมาปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้บวม บำรุงไฟธาตุ บำบัดโรคท้องมาน ดอก มีรสจืด เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และขับน้ำตา 

เมล็ด รสจืดมัน แก้ไข้ แก้หอบ ตำพอกแก้ปวดตามข้อ แก้บวม บำรุงไฟธาตุ 

น้ำมันจากเมล็ด (ben oil) ไม่มีสี กลิ่น และรส ใช้ทำยาขี้ผึ้งทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ แก้ปวดลดไข้ บำรุงหัวใจ ใช้ทำเครื่องสำอาง น้ำหอม ปรุงอาหาร ใช้เป็นน้ำมันสลัด

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “มะรุม”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=97 (20 พฤศจิกายน 2559).

Flora of China. “Moringa oleifera”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200009759 (20 พฤศจิกายน 2559).

Kew Science, The Royal Botanic Gardens. “Moringa oleifera Lam.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:584736-1 (20 พฤศจิกายน 2559)

The Plant List. 2013. “Moringa oleifera Lam.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-21400003 (20 พฤศจิกายน 2559).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้