ชื่อไทย
สาธร
ชื่อท้องถิ่น
กระเจาะ ขะเจาะ ขะเจ๊าะ (เหนือ)/ กระพี้เขาควาย (ประจวบฯ)/ กระเซาะ สาธร (กลาง)/ ขะแมบ (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์

Millettia leucantha Kurz var. buteoides (Gagnep.) P.K. Loc

สกุล
Millettia
สปีชีส์
leucantha
Variety

buteoides

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลาง สูง 10-20 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแผ่กว้าง เปลือกนอกมีสีเทาอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นเกล็ดเล็ก เปลือกในสีเหลืองอ่อน

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อยประมาณ 7 ใบ ใบเรียงตัวแบบเวียนสลับ ใบย่อยเรียงตัวแบบตรงข้าม รูปร่างใบเป็นรูปหอกกลับ ฐานใบย่อยแหลม ปลายใบย่อยแหลมหรือกลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีขนทั้งสองด้าน

ดอก ช่อแยกแขนง มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบติดกันที่ฐาน ปลายแยกเป็น 4 แฉก สีน้ำตาลอมเขียว กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกเป็น 2 มัด

ผล ฝักแบบ pod เมื่อแก่จะแห้งแตกออกเป็น 2 ซีก ฝักแก่มีสีน้ำตาลแบนรูปหอกกลับหรือรูปขอบขนาน

เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลแดง กลมแบน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ในภาคกลาง เหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ถิ่นกำเนิด

เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

จีนตอนใต้  ลาว ไทย พม่า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
ตุลาคม-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชวัสดุ,พืชให้ร่มเงา

นิยมปลูกเป็นเพื่อให้ร่มเงา

เนื้อไม้และแก่นมีลักษณะสวยงามใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องเรือน และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เสาเรือน ขื่อ รอด เพลา เกวียน เครื่องนอน ครก สาก

แหล่งอ้างอิง

ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2010. “สาทร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=7453 (9 มกราคม 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สาธร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=36&view=showone&Itemid=59 (9 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Millettia leucantha Kurz.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-32576 (9 มกราคม 2560)

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้