ชื่อไทย
โคลงเคลงต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์

Melastoma malabathricum L.

สกุล
Melastoma
ชื่อพ้อง

Melastoma affine D. Don 

Melastoma candidum D. Don

Melastoma cavaleriei H. Lév. & Vaniot

Melastoma esquirolii H. Lév.

ชื่อวงศ์
MELASTOMATACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 1.5-4.0 ม. กิ่งอ่อนมีขนแบบเกล็ดคลุม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-15 ซม.

ดอก ช่อดอกแบบกระจุก ดอกมี 5 กลีบ ฐานดอกรูปถ้วย ยาว 5-10 ซม. มีขนแบบเกล็ดปกคลุม กลีบเลี้ยงรูปใบหอก กลีบดอกสีม่วงหรือสีชมพู เกสรเพศผู้ 10 อัน สีเหลือง มีสองแบบ มีแบบสั้น และแบบยาว

ผล ผลแห้งแตก สีม่วงเข้มหรือแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในพื้นที่รกร้างหรือในทุ่งหญ้า ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 3,000 ม.

ถิ่นกำเนิด

เขตร้อนของไทยและประเทศใกล้เคียง

การกระจายพันธุ์

หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ทั่วทั้งเอเชียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ออสเตรเลีย และแปซิฟิกใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “โคลงเคลงต้น”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search.asp?txtsearch=โคลงเคลง (26 มกราคม 2560).

The Plant List. 2013. “Melastoma malabathricum L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-20302081 (26 มกราคม 2560).

Useful Tropical Plants. 2017.  “Melastoma malabathricum”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Melastoma+malabathricum (26 มกราคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้