ชื่อไทย
พฤกษ์
ชื่อท้องถิ่น
กรีด (กระบี่)/ กะซึก (กลาง, พิจิตร)/ กาแซ, แกร๊ะ, กาไพ (สุราษฎร์ธานี)/ ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ)/ ก้ามปู, คะโก, ชุงรุ้ง (ภาคกลาง)/ คางฮุง (มหาสารคาม, อุดรธานี)/ จะเร (เขมร-ปราจีนบุรี)/ จ๊าขาม (ภาคเหนือ)/ จามจุรี, จามรี, ซึก (กรุงเทพฯ)/ ตุ๊ด (ตาก)/ ถ่อนนา (เลย)/ ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ พญากะบุก (ปราจีนบุรี)/ มะขามโคก, มะรุมป่า (นครราชสีมา)
ชื่อสามัญ
<p>Indian walnut/ Siris tree</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Albizia lebbeck (L.) Benth.

สกุล
Albizia
สปีชีส์
lebbeck
ชื่อพ้อง

Acacia lebbeck (L.) Willd.

Feuilleea lebbeck (L.) Kuntze

Mimosa lebbeck L.

Acacia seeressa Roxb. ex Steud.

Acacia speciosa (Jacq.) Willd.

Albizia latifolia B. Boivin

Albizia speciosa (Jacq.) Benth.

Inga borbonica Hassk.

Mimosa flexuosa Rottler ex Wight & Arn.

Mimosa seeressa Steud.

Mimosa sirissa Roxb.

Mimosa speciosa Jacq.

ชื่อวงศ์
FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. ทรงพุ่มรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกต้นขรุขระ สีเทาเข้ม และแตกเป็นร่อง

ใบ ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ ใบย่อย 2-5 คู่ รูปไข่กลับ ขนาด 1-3 x 3-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบสอบเบี้ยว ใบดกหนา เวลาเย็นใบจะหุบลง พอตอนเช้าจะแผ่ออกตามเดิม

ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมาก เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 4-7 ซม. ดอกมีก้านสั้น ดอกกลางช่อขนาดใหญ่ที่สุด กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน โคนเชื่อมติดกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีเขียวอ่อนอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูคล้ายเส้นด้าย ช่วงล่างสีขาว ช่วงบนสีเขียวอ่อนอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ 

ผล แบบฝักหักข้อ แบน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 20-30 ซม. เกลี้ยง เมื่อแก่สีน้ำตาลอ่อน 

เมล็ด แบน รูปรี มี 4 – 12 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-600 ม.

ถิ่นกำเนิด

ทวีปเอเชียและแอฟริกาเขตร้อนหรือเขตกึ่งร้อน

 

การกระจายพันธุ์

ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ในต่างประเทสพบที่ในเอเชียและแอฟริกาเขตร้อนหรือเขตกึ่งร้อน

 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

- ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา

- ยอดอ่อน ช่อดอกอ่อน และฝักอ่อนกินเป็นผักสด ต้มกินกับน้ำพริกหรืออาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่ในแกงเลียง แกงผักรวมใส่ปลาย่าง ยอดอ่อนมีรสมัน ช่วยเจริญอาหาร

หมายเหตุ

พฤกษ์เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  2559. “พฤกษ์”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=89 (10 ธันวาคม 2559).

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติม กรุงเทพฯ.

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “พฤกษ์”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://book.baanlaesuan.com/plant-guide/siris/ (10 ธันวาคม 2559).

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 13 september 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), September 13, 2022.

Useful Tropical Plants. 2014. “Albizia lebbeck”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Albizia+lebbeck (10 ธันวาคม 2559).

 

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้