Acrostichum aureum L.
Acrostichum guineense Gaudich.
Acrostichum inaequale Willd.
Chrysodium aureum (L.) Mett.
Chrysodium inaequale (Willd.) Fée
Chrysodium vulgare Fée
ลำต้น ลำต้นทอดขนานพื้นดิน รากอ้วนขนาดใหญ่
ใบ หนาหยาบ เมื่อต้นยังเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวปกติ รูปแถบขอบขนาน สอบเข้าหาปลาย โคนมน เมื่อโตเต็มที่จะเป็นใบประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ 2-4 ม. ใบย่อยมีก้านใบขนาดแตกต่างกันออกไปตามสถานที่ขึ้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์มักขึ้นอยู่ตอนบนๆ และมักมีก้านใบสั้นหรือไม่มี อับสปอร์จะขึ้นเป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ตลอดใบใต้ท้องใบ ทำให้มองไม่เห็นเส้นใบ มักจะเห็นเป็นสีน้ำตาลแดงสดุดตาแต่ไกล
พบมากในป่าชายเลนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก
สายพันธุ์นี้มีการแพร่กระจายที่กว้างมาก พบในตอนใต้ของทะเลแคริบเบียน และตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย ในออสเตรเลีย และในตะวันออกและตะวันตกของแอฟริกา
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ใบอ่อนรับประทานได้ ลำต้นใช้บดใส่บาดแผล นิยมปลูกริมน้ำเป็นไม้ประดับ
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ปรงทอง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search.asp?txtsearch=ปรงทอง (26 มกราคม 2560).
Smithsonian Marine Station at Fort Pierce. 2017. “Acrostichum aureum Linnaeus”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.sms.si.edu/irlspec/Acrost_aureu.htm (26 มกราคม 2560).
The IUCN Red List. “Acrostichum aureum”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.iucnredlist.org/details/177110/0 (26 มกราคม 2560).
The Plant List. 2013. “Acrostichum aureum L.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-26600001 (26 มกราคม 2560).