ชื่อไทย
ศรีตรัง
ชื่อสามัญ
<p>Green ebony/ Jacaranda/ Brazilian rose wood</p>
ชื่อวิทยาศาสตร์

Jacaranda obtusifolia subsp. rhombifolia (G. Mey.) A. H. Gentry

สกุล
Jacaranda
สปีชีส์
obtusifolia
ชื่อพ้อง

Jacaranda obtusifolia var. rhombifolia (G. Mey.) Sandwith

Jacaranda rhombifolia G. Mey.

ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 4-10 ม. เปลือกแตกล่อนเป็นแผ่นบางตามยาว สีน้ำตาลอมเทา เรือนยอดโปร่ง

ใบ เป็นใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อยชั้นที่หนึ่งเรียงตรงข้าม มีใบย่อยชั้นที่สอง 12-21 คู่ เรียงตรงข้าม ขนาดเล็ก รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายแหลม โคนเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ไร้ก้านใบย่อย 
ดอก เป็นช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงสีม่วงเข้ม โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปปากเปิด สีม่วง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ช่วงปลายผายออกเป็นรูปลำโพง แยกเป็น 5 แฉก ซีกบน 2 แฉก ซีกล่าง 3 แฉก มีขนต่อมทั้ง 2 ด้าน เกสรเพศผู้ 2 คู่ สั้นสองยาวสอง ติดในหลอดกลีบดอก มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 1 เกสร อยู่ระหว่างเกสรเพศผู้ที่สมบูรณืคู่สั้น รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปทรงรี สีม่วงอ่อน ก้านยอดเกสรเพศเมียสีขาว มีขนต่อม  

ผล แบบผลแห้งแตกกลางพู ค่อนข้างแบน รูปรี สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล 

เมล็ด แบน สีน้ำตาล มีปีกบางใส มีเมล็ดจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ศรีตรังเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ได้รับแสงแดดตลอดวัน ปริมาณน้ำปานกลางถึงมาก

 

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์

บราซิล เฟรนช์เกียนา สาธารณรัฐซูรินาม เวเนซูเอลา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มกราคม - เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม – กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามและให้ร่มเงา

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. “ศรีตรัง (Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl.).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/tang.htm (11 มิถุนายน 2560)

ฉัตรชัย เงินแสงสรวย, รัมภ์รดา มีบุญญา, ปวีณา เวสภักตร์, ณัฐนนท์ มีพรหม, สิริพร ชดช้อย, วีรีศา บุญทะศักดิ์ และจามิกร วงศ์จิ้ว. 2562. พรรณไม้ในวังสระปทุม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ศรีตรัง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1012 (11 มิถุนายน 2560)

สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. 2559. “ศรีตรัง (Brazilian rose wood, Green ebony).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://adeq.or.th/ศรีตรัง/ (11 มิถุนายน 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “ศรีตรัง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/jacaranda/ (11 มิถุนายน 2560)

POWO (2019). Plant of the World Online. Facilitated by the royal Botanic Gardens, Kew. Published on the Internet, https://powo.science. kew.org/. Retrieved 21 September 2022.

TPL. 2013. The Plant List Version 1.1.Published on the Internet; Available Source: http://www.theplantlist.org/ (accessed 1st January), September 21, 2022.

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้