Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker
Aglaia aphanamixis Pellegr.
Aglaia cochinchinensis (Pierre) Pellegr.
Aglaia janowskyi Harms
Aglaia polystachya Wall.
Alliaria cuneata (Hiern) Kuntze
ต้น ตาเสือเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงได้ถึง 25 ม. เปลือกต้นมีความหนาแตกเป็นสะเก็ดหลุดล่อนออก ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลือง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบกลมเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นๆ ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 3-7 ซม. และความยาวประมาณ 6-18 ซม. แผ่นใบเรียบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม
ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงยาว โดยจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งช่อดอกเพศผู้ ช่อดอกเพศเมีย และช่อดอกที่มีทั้งสองเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ลักษณะเป็นรูปทรงกลม กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 3 แฉก สีเขียวและมีขน ส่วนกลีบดอกมี 3 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
ผล กลม ขนาดประมาณ 3.5-5.0 ซม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2-3 ซีก
เมล็ด ภายในผล มีเมล็ดสีน้ำตาลดำและมีเยื้อหุ้มเมล็ดสีแดง
พบได้ทั่วไปบริเวณป่าดิบทั่ว ทุกภาคของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 400-1,000 ม.
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ พม่า และศรีลังกา
เอเชียตะวันออก - จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไปนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
เนื้อไม้ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ดี เพราะเนื้อไม้มีความแข็ง เหนียว มีความแข็งแรงทนทานดี
เปลือกต้น กล่อมเสมหะ แก้เสมหะ แก้บิดมูกเลือด ขับโลหิต ขับระดู รัดมดลูก สมานแผล แก้บวมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย แก้ปวดตามข้อ
แก่น สมานท้องไส้
ใบ แก้บวม
ผล แก้บวมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ผลใช้เป็นอาหารของนกเงือก
กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “ตาเสือ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=305 (13 กุมภาพันธ์ 2560).
Thaiherbal.org. 2558. “ตาเสือ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/2270/2270 (13 กุมภาพันธ์ 2560).
The Plant List. 2013. “Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2643324 (13 กุมภาพันธ์ 2560).
Useful Tropical Plants. 2017. “Aphanamixis polystachya”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Aphanamixis+polystachya (13 กุมภาพันธ์ 2560).
Wikipedia. “Aphanamixis polystachya”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Aphanamixis_polystachya (13 กุมภาพันธ์ 2560).