ชื่อไทย
ประยงค์ใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์

Aglaia oligophylla Miq.

สกุล
Aglaia
ชื่อพ้อง

Aglaia anonoides Elmer ex Merr.

Aglaia bordenii Merr.

Aglaia euphorioides Pierre

Aglaia fusca King

Aglaia glaucescens King

ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้น สูง 20-25 ม. ลำต้นสูงในช่วง 10 ม. อาจไม่มีกิ่งก้าน เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 60-90 ซม.

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 40 ซม. กว้าง 30 ซม. ใบเดียวคล้ายแผ่นหนัง ปลายใบแหลม 

ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 10-20 ซม. กว้าง 9-15 ซม ดอกย่อย ยาวไม่เกิน 2 มม. กว้าง 2.5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ

ผล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 ซม.

เมล็ด มี 1 หรือ 2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ในป่าผลัดใบและไม่ผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 380 ม.

ถิ่นกำเนิด

พืชในสกุล Aglaia มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย และแปซิฟิค

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก อันดามัน พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผล กินได้มีรสเปรี้ยว หวาน รับประทานในส่วนของ ariel 

แหล่งอ้างอิง

Plants of Southeast Asia. “Aglaia oligophylla Miq.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.asianplant.net/Meliaceae/Aglaia_oligophylla.htm (7 มีนาคม 2560).

The Plant List. 2013. “Aglaia oligophylla Miq.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2626470 (7 มีนาคม 2560).

Useful Tropical Plants. 2017.  “Aglaia oligophylla”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Aglaia+oligophylla (7 มีนาคม 2560).

Wikipedia. “Aglaia”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Aglaia (7 มีนาคม 2560).

รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้